การยอมรับเทคโนโลยีการขยายพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า 2 ชนิด ในป่าชุมชนบ้านนิคมพัฒนา ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

กฤตย ปุรินทราภิบาล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.635.9344 ก914ก 2555

รายละเอียด: 

การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการขยายพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า 2 ชนิด ในป่าชุมชนบ้านนิคมพัฒนา ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลานี้ เป็นการทำงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความหลากหลายของกล้วยไม้ป่าที่มีอยู่ในธรรมชาติและในชุมชน 2) เพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่า 2 ชนิด คือ เอื้องพร้าว (Phaius tankervilleae) และว่านหางช้าง (Grammatophyllum speciosum) 3) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ของชุมชน 4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าของชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครในชุมชนในพื้นที่ เนื้อที่พื้นที่ศึกษาประมาณ 1,040 ไร่ ผลการศึกษาพบว่า กล้วยไม้ป่าบริเวณป่า ทำการสำรวจระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 พบกล้วยไม้ทั้งหมด 6 วงศ์ย่อย 44 สกุล 75 ชนิด เป็นกล้วยไม้ดิน 15 ชนิด กล้วยไม้อิงอาศัย 49 ชนิด กล้วยไม้บนหิน 2 ชนิด กล้วยไม้ที่เป็นทั้งกล้วยไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้บนหิน 8 ชนิด และกล้วยไม้ที่เป็นทั้งกล้วยไม้ดินและกล้วยไม้บนหิน 1 ชนิด ผลการสำรวจนี้จะนำมาเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป กล้วยไม้ป่าหายาก 2 ชนิดคือ เอื้องพร้าว (Phaius tankervilleae) และว่านหางช้าง (Grammatophyllum speciosum) ที่ได้จากการสำรวจมาทำการศึกษาการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเมล็ดกล้วยไม้ในอาหาร Murashige and Skoog (1962) ที่มีน้ำมะพร้าว 150 มิลลิลิตร/ลิตร พบว่าเอื้องพร้าว เจริญเติบโตได้ดีทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3 เดือนก่อนนำออกจากขวดไปอนุบาลในเรือนเพาะชำหลังการเลี้ยงบนอาหาร MS 3 เดือน ว่านหางช้างจะเจริญเติบโตช้ากว่าใช้เวลานาน 6 เดือน ก่อนนำออกจากขวดไปอนุบาลในเรือนเพาะชำ นำผลการศึกษาไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยการฝึกอบรมเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการรวบรวมข้อมูลถึงการยอมรับการใช้เทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ พบว่านิยมการแยกหน่อสูงสุดมีการปฏิบัติเป็นประจำ แต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อกล้วยไม้พบว่ามีต้นทุนสูง วัสดุอุปกรณ์และวิธีการยุ่งยาก การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าของชุมชน พบว่า กล้วยไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์มากที่สุดคือ รองเท้านารีม่วงสงขลา รองลงมาว่านหางช้าง ชุมชนต้องการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า โดยการเรียนรู้คู่กับการอนุรักษ์ และมีความต้องการให้ส่งเสริมการใช้ประโยชน์กล้วยไม้ป่าควบคู่กับการอนุรักษ์

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีการดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิจัย

บทที่5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย