ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจภายใน - ภายนอกตนด้านสุขภาพกับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

สุดา ยุทธโท

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.616.8527 ส44ค 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 2) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความเชื่ออำนาจภายใน- ภายนอกตนด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และ3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจภายใน- ภายนอกตนด้านสุขภาพกับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุอยู่ระหว่าง 19-59 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ใน 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนล่าง และเป็นโรคซึมเศร้าระดับน้อย ระดับปานกลางและระดับรุนแรง ที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ปี 2554 จำนวน 199 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายชั้นตามคุณสมบัติที่กำหนดและกำหนดโควตาตามสัดส่วน ร้อยละ 0.5025 ได้แก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ระดับปานกลางและระดับรุนแรง จำนวน 14, 40 และ145 คน ตามลำดับ เลือกตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามโควตาให้ครบจำนวนตามที่กำหนด โดยทำบัญชีรายชื่อตัวอย่างทุกรายที่เลือกไว้แล้ว เพื่อป้องกันการเลือกตัวอย่างซ้ำกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่1 ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ ศาสนา อาชีพ ระดับการศึกษารายได้ของครอบครัวต่อเดือน ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูที่ผ่านมา และส่วนที่ 2 แบบวัดความเชื่ออำนาจภายใน- ภายนอกตนด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นแบบวัดที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับตามแนวคิดของวอลสตัน, วอลสตันและดีเวลลิส(1978: 160 -170) สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และหาระดับความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบแครมเมอร์วี ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเชื่ออำนาจภายในตน-ภายนอกตนด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความเชื่อในระดับมากทุกด้าน โดยความเชื่ออำนาจผู้อื่นด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลความเชื่ออำนาจภายใน–ภายนอกตนด้านสุขภาพไม่สัมพันธ์กัน แต่มีเพศและอาชีพที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่ออำนาจผู้อื่นด้านสุขภาพในระดับน้อย และ 3) ความเชื่ออำนาจภายในตน-ภายนอกตนด้านสุขภาพกับภาวะซึมเศร้าไม่สัมพันธ์กัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปราผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย