ความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสสารของนักเรียน : รายงานการวิจัย (Children's Ideas about Matter)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ดร.ยินดี สวนะคุณานนท์

สำนักพิมพ์: 

ภาควิชาเคมี คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2536

เลขหมู่: 

ว.372.35 ย35ร

รายละเอียด: 

จุดประสงค์ของการวิจัย จุดประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาการ พัฒนาความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับสสารของนักเรียน วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1, 3, และ 5 (อายุ 6-7, 8-9 และ 10-11 ปี ตามลําดับ ปีการศึกษา 2535 ณ โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏ สงขลา ชั้นละ 20 คน รวม 60 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (อายุ 12-13 ปี) ปีการศึกษา 2535 ณ โรงเรียนวรนารีเฉลิม และโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา โรงเรียนละ 10 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 80 คน วิธีการเก็บข้อมูลกระทําโดยการสัมภาษณ์ เป็นรายบุคคลตามแบบการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ (The Interview-about - instances) (Osborne & Gilbert, 1980a) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ วัตถุและปรากฏการณ์จริงตามแบบของ Stavy (1991) เทปบันทึกบทสนทนา และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการวิจัย 1) นักเรียนในระดับชั้นต่ำ ๆ (ประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ซึ่งไม่เคยผ่านการเรียนเรื่องสสารมาก่อน อธิบายความหมายของคําว่าสสารในเทอมของคําว่า วัตถุ และสิ่งของ โดยการบ่งบอกหน้าที่ และยกตัวอย่างประกอบ แม้ว่านักเรียนทุกระดับชั้นจะอธิบายความหมายของสสารโดยการบ่งบอกสมบัติ แต่จะปรากฏมากในนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป ซึ่งผ่านการเรียน เรื่องสสารในโรงเรียนมาแล้ว ในจํานวนนี้มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 65% และ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 70% ที่ให้ความหมายของสสารโดยการเชื่อมโยงกับ สมบัติที่เกี่ยวกับน้ำหนัก และ/หรือ ปริมาตรซึ่งเป็นสมบัติภายในของสสารที่เป็นที่ ยอมรับในเชิงวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ไม่มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3 คน ใดที่ให้ความหมายในลักษณะดังกล่าว 2) นักเรียนในระดับชั้นต่ํา ๆ ( ประถมศึกษา ปีที่ 1 และ 3) ซึ่งไม่เคยผ่านการเรียนเรื่องสสารมาก่อนมีความคิดความเข้าใจ เกี่ยวกับสสารน้อยมาก กล่าวคือ นักเรียนกลุ่มนี้จะมีความคิดว่า ของแข็ง ของ เหลว และวัสดุชีวภาพบางชนิด และก๊าชไม่ใช่สสาร แต่ไม่มีปัญหาในการจําแนกสิ่ง ที่ไม่ใช่สสารให้อยู่ในกลุ่มของสสาร ยกเว้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ส่วน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป ซึ่งผ่านการเรียนเรื่องสสารในโรงเรียนมา แล้ว มีความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสสารมากขึ้นแตกต่างจากเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3 อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าวคือนักเรียนกลุ่มนี้จะมีความคิดว่า ของแข็ง ของเหลว วัสดุชีวภาพ และก๊าช เป็นสสาร และจะไม่จําแนกสิ่งที่เป็นสสารให้อยู่ใน กลุ่มที่ไม่ใช่สสาร ยกเว้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ยังมีปัญหาในการจําแนก ของเหลวและก๊าชอยู่บ้าง จะอย่างไรก็ตาม พบว่านักเรียนในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 กลับมีปัญหาในการจําแนกสิ่งที่สัมพันธ์กับสสาร และสิ่งที่ไม่ใช่ สสารมากกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3 กล่าวคือ มีนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 จํานวนมากกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3 ที่คิดว่าสิ่งที่ไม่ ใช่สสาร และสิ่งที่สัมพันธ์กับสสารเป็นสสาร แต่ปัญหานี้จะลดลงในนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 กล่าวคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จํานวนน้อยกว่านักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 (แต่มากกว่านักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3) ที่คิดว่า สิ่งที่สัมพันธ์กับสสาร เป็นสสาร แต่ไม่มีปัญหาในการจําแนกสิ่งที่ไม่ใช่สสารให้อยู่ในกลุ่มที่จัดว่าเป็นสสาร 3) นักเรียนในระดับชั้นต่ำ ๆ (ประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) จะบอกเหตุผลที่คิดว่า ของแข็ง ของเหลว วัสดุชีวภาพ และอากาศเป็นสสาร โดยการระบุหน้าที่ และ ประโยชน์ของสิ่งนั้น ๆ เป็นหลักนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป นอก จากจะให้เหตุผลโดยการระบุหน้าที่แล้ว ยังบอกเหตุผลโดยการระบุสมบัติของสิ่ง นั้น ๆ มากขึ้น และภายในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป นักเรียนเกือบทั้งหมด จะอธิบายเหตุผลที่คิดว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นสสารโดยการระบุสมบัติของสิ่งนั้น ๆ เป็น เกณฑ์ อนึ่ง ปรากฏว่า มีนักเรียนจํานวนไม่น้อยที่ไม่สามารถให้เหตุผลได้ และ/หรือ ให้เหตุผลไม่ตรงกับความหมายที่เขาบอก * ) สรุป จากผลวิจัยนี้ สรุปได้ว่า 1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3 ซึ่งไม่เคยผ่านการเรียน เรื่องสสารมาก่อน มักคิดถึงสสารในรูปของของแข็งที่สามารถมองเห็นได้ และ มีประโยชน์ใช้สอยได้ ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป ซึ่งผ่านการเรียน เรื่องสสารในโรงเรียนมาแล้วจะคิดถึงสสารในทุกสถานะ และสัมพันธ์กับสมบัติของสสารเป็นหลัก 2) นักเรียนส่วนใหญ่ทั้งที่ผ่าน และไม่ผ่านการเรียนเรื่องสสารในโรงเรียน มาก่อนมีความคิดว่า สสารต้องมีตัวตน มองเห็นได้ สัมผัสได้ จับต้องได้ 3) ความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสสารของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีแนวโน้มพัฒนาไปตามประสบการณ์ในโรงเรียนอย่างเห็นได้ ชัดเจน 4) นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดว่าก๊าช ไม่ใช่สสาร 5) นักเรียนที่ผ่านการเรียนเรื่องสสารในโรงเรียนมาแล้วมีแนวโน้มที่คิดว่า สิ่งที่สัมพันธ์กับสสารเป็นสสารมากกว่านักเรียนที่ยังไม่ผ่านการเรียนเรื่องสสารมาก่อน 6) นักเรียนส่วนใหญ่ทั้งที่ผ่าน และไม่ผ่านการเรียนเรื่องสสารในโรงเรียน มาก่อนให้เหตุผลในการจําแนกสสารตามความหมายของสสารที่ตนให้นิยามได้ แต่มีนักเรียนอีกไม่น้อยที่บอกเหตุผลในการจําแนกไม่ได้ และบางคนให้เหตุผลไม่ สอดคล้องกับความหมายของสสารที่ตนอธิบาย แสดงว่านักเรียนมีความรู้แต่ไม่เข้าใจ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิจัย

บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย