การสร้างรูปแบบหม้อดินสทิงหม้อ : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อ้อยทิพย์ พลศรี

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2542

เลขหมู่: 

ว.738.3 อ19ก

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษารูปแบบหม้อดินในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจําถิ่น 2. เพื่อสร้างรูปแบบหม้อดินที่จะพัฒนาต่อไปโดยมุ่งหวังที่จะเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้ 3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมการประกอบอาชีพปั้นหม้อให้คงอยู่สืบไป กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มผู้อาศัย ในหมู่บ้าน กลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งสิ้น 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็นสองลักษณะ คือ เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่ว ๆ ไป โดยจัดทําเป็น 3 ชุด คือ 1. แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 2. แบบสัมภาษณ์ผู้อาศัยในหมู่บ้าน และ 3. แบบสัมภาษณ์บุคคลทั่วไป และเครื่องมือแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบหม้อดินสทิงหม้อ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดําเนินการ ดังนี้ 1. นําผลจากแบบสัมภาษณ์ทั้ง 3 ชุดมาวิเคราะห์หาคําทางสถิติเป็นร้อยละ ตาม ประเด็นต่างๆ ที่ตั้งคําถามออกมาในรูปแบบของตารางและความเรียง 2. นําผลจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญมาสรุปผลวิเคราะห์ประเด็น เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย พร้อมกับข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 8 ท่าน ในรูปแบบของความเรียง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปพบว่า ในปัจจุบันเหลือผู้ประกอบ การอยู่เพียง 3 ราย มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่ยังคงใช้กรรมวิธีแบบเดิมในการผลิต และหม้อที่ผลิตและเป็นที่นิยมมากที่สุด คือ หม้อต้มยาสมุนไพร รองลงมา คือ เผล้ง หม้อแกงและสวดตามลําดับ สําหรับลวดลายที่ยังคงอยู่และเป็นที่นิยมมีลายคิ้วนาง ลายก้านจากหรือลายก้านมะพร้าวที่ลายลูกแก้วใหญ่ และลายประดิษฐ์ ซึ่งทั้ง 4 กลุ่ม เห็นด้วยว่าควรมีการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบทั้งด้านรูปร่าง รูปทรง ลวดลาย และ ประโยชน์ใช้สอย โดยคํานึงถึงความสะดวกในการผลิตด้วย ส่วนปัญหาที่เป็นสาเหตุทําให้การปั้นหม้อดินลดน้อยลง มีหลายประการ เช่น ปัญหาเรื่องวัตถุดิบ ปัญหาแรงงาน ปัญหาเงินทุนสนับสนุน ปัญหาด้านรูปแบบ และปัญหา ด้านการตลาด เป็นต้น ดังนั้น ข้อเสนอแนะที่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มเสนอแนะ มีประเด็นสําคัญ ๆ ที่เห็น ว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาต่อไป คือ ด้านการอนุรักษ์รูปแบบและกรรมวิธีเดิม ด้านการ ปรับปรุงหรือพัฒนารูปแบบใหม่ให้เป็นที่ต้องการของตลาด ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านคุณภาพ โดยในส่วนของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเห็นด้วยกับการคิดสร้างรูปแบบใหม่ ผสมผสานกับรูปแบบเดิม แต่ให้ข้อเสนอแนะว่า พวิวที่นึงถึงขั้นติยินการผถิติที่ไม่ขับ ซ้อน และเป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง สําหรับผู้วิจัย มีความเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ควรให้การ สนับสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. จัดอบรมเยาวชนให้เห็นถึงคุณค่าของอาชีพการปั้นหม้อดินบ้านสทิงหม้อ พร้อมทั้งฝึกการปฏิบัติเพื่อนําไปประกอบอาชีพได้ 2. จัดอบรมผู้ประกอบการเพื่อเสริมความรู้ด้านวิธีการ รูปแบบและการจัดการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 3. จัดหาทุนกู้ยืมให้แก่ผู้สนใจที่จะยึดอาชีพการปั้นหม้อดิน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 4. ดําเนินการกําหนดเขตแหล่งวัตถุดิบที่ชัดเจนและเพียงพอ เพื่อที่จะได้ไม่เป็น ปัญหากับผู้ประกอบการต่อไป 5. ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักและเห็นคุณค่าของการ ปั้นหม้อบ้านสทิงหม้ออย่างกว้างขวาง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย