การศึกษาภูมิปัญญาที่ปรากฏในบทหนังตะลุง ของ หนังสกุล เสียงแก้ว

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เกษม ขนาบแก้ว

สำนักพิมพ์: 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2549

เลขหมู่: 

ว.791.5 ก58ม

รายละเอียด: 

การศึกษาภูมิปัญญาที่ปรากฏในบทหนังตะลุง ของหนังสกุล เสียงแก้ว ครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคติชนวิทยา ข้อมูลที่นํามาศึกษาคือบทหนังตะลุงฉบับลายมือเขียนของหนังสกุล เสียงแก้ว จํานวน 25 เรื่อง จุดมุ่งหมายหลักในการศึกษา ได้แก่ การศึกษาภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังสกุล เสียงแก้ว ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ในด้านการใช้รูปแบบการประพันธ์ การใช้คําการ ใช้ภาพพจน์ การบรรยาย การตั้งข้อสังเกต และเสนอทัศนะ การบันทึกลักษณะสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน และสภาพแวดล้อม ต่าง ๆ การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย การบันทึกวัฒนธรรม พบว่า หนังสกุล เสียงแก้ว มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นอย่างดี คือ 1) สามารถใช้รูปแบบคําประพันธ์ ที่เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่น้อยกว่า 5 ชนิด คือ กลอนแปด กลอนหก กลอนสี่ กลอนสามห้า กลอนกลบทกบเต้นต่อยหอย 2) สามารถใช้คําที่ทําให้การส่งสารมีประสิทธิภาพขึ้นหลายลักษณะ เช่น คําสัมผัส การหลากคํา การเคียงคํา 3) สามารถใช้ภาพพจน์ได้ดี ไม่น้อยกว่า 3 ลักษณะ คือ อุปมา อธินามนัย อติพจน์ 4) สามารถบรรยายได้ดี เช่น ทําให้เรื่องดําเนินไป อย่างฉับไว เห็นนาฎการของตัวละคร ก่อให้เกิดจินตนาการ 5) สามารถตั้งข้อสังเกตและเสนอ ทัศนะที่น่าสนใจ ก่อให้เกิดปัญญาวิจารณญาณ หลายประการ เช่น มนุษย์ปุถุชนตกอยู่ในอํานาจ กามคุณ บางคนกล้ากระทําผิด ล่วงประเพณี เพราะตกอยู่ในอํานาจกามคุณ การลืมในสิ่งใด ไม่ เป็นภัยเสียหายร้ายแรงเท่ากับการลืมตัว สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีคู่ 6) สามารถบันทึก ลักษณะ สภาพความเป็นอยู่ของผู้คน และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของชาวบ้านภาคใต้ได้ดี 7) สามารถบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ดี 8) สามารถบันทึกวัฒนธรรมชาวบ้าน ภาคใต้ได้ดีหลายด้าน เช่น ด้านความเชื่อ การทํามาหากิน การตั้งชื่อบ้านนามเมือง 2. ในด้านการสร้างบทเทวา บทปรายหน้าบท บทสอน บทสมห้อง บทเกี้ยวจอ บทสนทนา การตัดต่อเรื่อง การวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่ ผู้มีอํานาจ การประยุกต์และการสร้างบทตลก พบว่า หนังสกุล เสียงแก้ว มีความสามารถทางการสร้างบทต่าง ๆ รวมทั้งการตัดต่อเรื่อง การ วิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่ ผู้มีอํานาจ การประยุกต์และการสร้างบทตลกเป็นอย่างดี คือ 1) สามารถ สร้างบทเทวาได้ดีทั้งรูปแบบและเนื้อหา 2) สามารถสร้างบทปรายหน้าบทได้ดีทั้งรูปแบบและ เนื้อหา 3) สามารถสร้างบทสอนได้ดีทั้งรูปแบบและเนื้อหา สามารถบอกความจริงและสิ่งพึงทํา ได้ดี 4) สามารถสร้างบทสมห้องได้ดีทั้งรูปแบบและเนื้อหา สามารถใช้คํา สํานวนได้ดี 5) สามารถสร้างบทเกี้ยวจอได้ดี ทั้งรูปแบบและเนื้อหา ไม่น้อยกว่า 18 บท 6) สามารถสร้างบท สนทนาได้ดี เหมาะสมกับลักษณะของตัวละคร 7) สามารถติดต่อเรื่องได้ดี ไพเราะ เหมาะสม 8) สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่ผู้มีอํานาจได้แยบยลคมคาย 9) สามารถประยุกต์ความรู้ต่าง ๆ เช่น ประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับคนวิกลจริตที่คิดฟุ้งซ่านไปต่าง ๆ นานา ความรู้เรื่องโสเภณี บาร์ รถไฟ รถยนต์ นายหนังตะลุง วัวชน ภาษาอังกฤษ ความผิดปกติบกพร่องของนักการเมือง บางคน มาสร้างเป็นบทตลกได้อย่างแยบยล 10) สามารถสร้างบทตลกได้ดี โดยใช้กลวิธีที่แยบยล ไม่น้อยกว่า 8 วิธี ดังนี้ การลวงให้มีความประสบการณ์ผิด การเล่าเรื่องที่เกินจริงเกินเชื่อ กลวิธี เกลือจิ้มเกลือ การหักมุม การใช้คําผวน การพูดถึงเรื่องเพศ การใช้คํา 2 แง่ 2 มุม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 ประวัติ ผลงาน ลักษณะเด่นและเกียรติคุณของหนังสกุล เสียงแก้ว

บทที่ 3 ภูมิปัญญาที่ปรากฏในบทหนังตะลุงของหนังสกุล เสียงแก้ว

บทที่ 4 ภูมิปัญญาที่ปรากฏในบทหนังตะลุง ของหนังสกุล เสียงแก้ว

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ประวัติย่อผู้วิจัย