ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
เพียงแข พงษ์ศิริบัญญัติ |
|
สำนักพิมพ์: |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2546 |
|
เลขหมู่: |
ว.959.38 พ612ป |
|
รายละเอียด: |
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์บอกเล่าเมืองสงขลาในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484-2488) โดยมุ่งศึกษาถึงสภาพการณ์ของเมืองสงขลาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับการเป็นเมืองยุทธศาสตร์สําคัญของภาคใต้ การถูกบุกยึดโดยกองกําลังญี่ปุ่นและการถูกฝ่ายสัมพันธมิตรรุกจู่โจม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชาวเมืองสงขลากับทหารญี่ปุ่นและสภาพความเป็นอยู่ของชาวเมืองรวมทั้งทัศนคติของชาวเมืองต่อกองทหารญี่ปุ่นอีกด้วย ทั้งนี้จะได้นําเสนอผลการศึกษาแบบประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (Historical Analysis) ในการดําเนินการวิจัยผู้วิจัยได้เริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ จะศึกษาจากเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารเหล่านั้นแล้ว ได้กําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ชาวเมืองสงขลาที่มีชีวิตอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2484-2488) จํานวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposing random sampling) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 25 คน เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เผชิญกับภาวะสงครามโดยตรง และดําเนินวิถีชีวิตกับกองทหารญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด ซึ่งในปัจจุบันยังสามารถจดจําเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยําแล้วถ่ายทอดเหตุการณ์ต่าง ๆ ครั้งกระนั้นได้ดี ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เมืองสงขลาตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญที่ญี่ปุ่นจะต้องใช้เป็นพื้นที่เคลื่อนพลไปสู่มลายูและสิงคโปร์ซึ่งเป็นฐานทัพของอังกฤษได้โดยง่าย เพราะสงขลา มีพื้นที่ของอําเภอสะเดาเป็นชายแดนภาคใต้ที่ติดต่อกับมลายู ดังนั้นเมืองสงขลาจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงการเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ ญี่ปุ่นได้เตรียมการล่วงหน้าอย่างรอบคอบ มีการวางแผนการทําสงครามเป็นเวลาหลายปี จะเห็นได้จากการส่งแนวที่ห้าเข้ามาปฏิบัติงานใน หลาย ๆ จังหวัดทางภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง สงขลา และปัตตานี โดยเข้ามาประกอบอาชีพอาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลาหลายปี คอยสอดแนมศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ และยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ญี่ปุ่นได้กําหนดให้พื้นที่ภาคใต้เป็นเส้นทางเดินทัพไปยังมลายู ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ การปะทะกันระหว่างกองกําลังฝ่ายไทยกับฝ่ายญี่ปุ่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยจุดแรกเริ่มจากบริเวณสถานีตํารวจสงขลา ปัจจุบันคือกองกํากับการตํารวจภูธรสงขลา เป็นการปะทะระหว่างตํารวจไทยกับกองกําลังญี่ปุ่น จุดปะทะต่อมาคือบ้านสําโรงบริเวณตําบลเขารูปช้าง ในความรับผิดชอบของกองพันทหารราบที่ 41 และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ ณ ค่ายสวนตูล (ปัจจุบันคือค่าย พระปกเกล้า) จุดปะทะสุดท้ายคือบริเวณบ้านควนแม่เตยและบ้านน้ําน้อย หรือเขาบันไดนาง (ปัจจุบันเป็นพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 เขตตําบลน้ําน้อย) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองพันทหารราบที่ 5 จากค่ายคอหงส์ (ปัจจุบันคือค่ายเสนาณรงค์) การยกพลขึ้นบกที่สงขลาของกองทัพญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 นับว่าเป็นการละเมิดความเป็นกลางของประเทศไทย ประเทศไทยต้องยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยไปยังพม่าและมลายู ทําให้สถานการณ์คลี่คลายลงแต่ต้องเผชิญหน้ากับสภาวะสงครามที่ยังคงมีต่อไป โดยกองทัพสัมพันธมิตรบุกโจมตีญี่ปุ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2484 2488 เมืองสงขลาต้องตกเป็นเป้าหมายโจมตีของกองทัพสัมพันธมิตร |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|