การศึกษาความร่วมมือระหว่างสถาบันราชภัฏสงขลากับชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สนธยา พลศรี

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

338.4791 ส15ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความร่วมมือระหว่างสถาบันราชภัฏสงขลากับ ชุมชนท้องถิ่นในด้านการท่องเที่ยว การจัดการและมาตรฐานคุณภาพการท่องเที่ยวของตําบลชุมพล ด้านสภาพการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความพร้อมในการพัฒนาการจัดการมาตรฐาน คุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเสนอแนะแนวทางของความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตําบลชุมพล ระหว่างสถาบันราชภัฏสงขลากับตําบลชุมพล โดยศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว จํานวน 206 คน ประชาชน จํานวน 261 คน ผู้ประกอบการเกี่ยว กับการท่องเที่ยวในตําบลชุมพล จํานวน 35 คน ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของตําบลชุมพล จํานวน 4 คน และผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานการบริการวิชาการแก่ชุมชนของสถาบันราชภัฏ สงขลา จํานวน 3 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สถาบันราชภัฏสงขลามีนโยบายที่จะร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตําบลชุมพลมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและแหล่งท่อง เที่ยวทางวัฒนธรรมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ ในด้านคุณภาพการท่องเที่ยวเชิง นิเวศของตําบลชุมพล นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนประชาชนและผู้ ประกอบการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ในด้านความร่วมมือ ระหว่างสถาบันราชภัฏสงขลากับตําบลชุมพลเพื่อพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประชาชน มีความคิดเห็นว่าควรร่วมมือกันมากที่สุดในแต่ละด้านดังนี้ ด้านการวิจัยคือการให้ความรู้เกี่ยวกับ การวิจัยให้แก่บุคลากรในท้องถิ่น ด้านการฝึกอบรมคือจัดฝึกอบรมเรื่องมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและการ จัดตั้งองค์การประสานงานการท่องเที่ยว ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นคือการฟื้นฟู ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ด้านการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวคือการรณรงค์ในรูปแบบต่าง ๆ ด้าน เครือข่ายการท่องเที่ยวคือการประสานงานในการสร้างเครือข่าย ส่วนผู้ประกอบการมีความ เห็นว่าด้านการวิจัยคือร่วมกันวิจัยการตลาดและส่งเสริมการตลาด ด้านการฝึกอบรมคือจัดฝึกอบรม ในเรื่องการตลาดและส่งเสริมการตลาดและการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการตลาด ด้านการทํานุ บํารุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นคือการจัดรูปแบบงานเทศกาลโดยยึดวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็น หลัก ค้านการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวคือการรณรงค์ในรูปแบบต่าง ๆ และด้านเครือข่ายการท่อง เที่ยวคือการติดตามประเมินผลการดําเนินงานของเครือข่ายการท่องเที่ยว ซึ่งสถาบันราชภัฏสงขลา และองค์การบริหารส่วนตําบลชุมพล ควรนํามาใช้เป็นแนวทางในการร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตําบลชุมพลต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ส่วนหน้า