การศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านซีละ กรณีศึกษา : ซีละเส็น การิม

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ปัทมาพร ชเลิศเพ็ชร

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2545

เลขหมู่: 

ว.791.1

รายละเอียด: 

การศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านซีละ : กรณีศึกษา ซีละเส้น การิม ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาประวัติความเป็นมาของซีละ โดยเฉพาะประวัติของคณะเส้น การิม และศึกษาองค์ประกอบของการเล่นซีละในด้าน การแต่งกาย เพลงและดนตรี ผู้แสดง ท่าทาง การต่อสู้ และโอกาสที่ใช้ในการแสดง ศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้ของซีละเส้น การิม โดย ทําการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ด้วยการใช้ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi – structured interview) แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เพื่อใช้สัมภาษณ์ผู้ทรงภูมิปัญญาพื้นบ้าน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครง สร้าง (Structured interview) เพื่อศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้ของผู้ทรงภูมิปัญญา นอกจากนี้ ยังมีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ทําการบันทึกเทป วิดีทัศน์และการถ่ายภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ ผู้วิจัยได้ประมวลข้อมูลทั้งหมดเป็นหมวด หมู่และทําการสังเคราะห์ข้อมูลมีการตรวจสอบแบบสามเส้าจากหลายบุคคล ต่างเวลาต่ง สถานที่ ทําการวิเคราะห์เพื่อหาคําตอบให้แก่คําถามการวิจัยแล้วนําเสนอโดยการพรรณนา วิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การเล่นซีละในประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากการอพยมโยกย้ายถิ่นฐานของ ชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ โดยมีรากเหง้ามาจากการป้องกันตัวด้วยมือเปล่าและอาวุธ คือ กริช ในการต่อสู้ศึกสงครามของชาวอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้นับถือศาสนามุสลิมแล้ว มีการอพยพไปในที่ต่าง ๆ ส่วนซีละคณะเส้น การิมได้รับอิทธิพลมาจากผู้ทรงภูมิปัญญาท้อง ถิ่นที่มีความรู้ด้านมวยไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งมีชื่อเสียงมากในเรื่องการต่อสู้แบบมวย ไทยโบรา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 5 เครือข่ายการเรียนรู้ซีละเส็น การิม

บทที่ 6 สรุปผลอภิปรายผลและเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ประวัติผู้วิจัย