ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
สุกัญญา ภูกลาง, สุธิตา แยนาย |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2547 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
งานวิจัยนี้ทําการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เถ้าแกลบเป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติ โดยศึกษาเปรียบเทียบการใช้เถ้าแกลบและซิลิกาเป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติที่ปริมาณ 0, 25, 50 และ75 phr ศึกษาปริมาณการใช้เถ้าแกลบในยางธรรมชาติที่ปริมาณ 0, 10, 25, 40, 50, 60 และ 75 phr ศึกษาปริมาณการใช้เถ้าแกลบร่วมกับไดเอทธีลีนไกลคอลที่ปริมาณ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 phr โดยการนําแกลบข้าวมาเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จะได้เถ้าแกลบมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีเทา pH เท่ากับ 9.54 และมีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.452-1852 am จากนั้นนําแกลบข้าวที่ได้มาใช้เป็นสารตัวเติมผสมลงไปในยางธรรมชาติ แล้วทดสอบสมบัติการวัลคาไนซ์ สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางสัณฐานวิทยาของยางที่ใช้เถ้าแกลบเป็นสารตัวเดิม จากผลการทดลองพบว่า เถ้าแกลบสามารถใช้เป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติได้ จากการ เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของยางธรรมชาติที่ใช้เถ้าแกลบและซิลิกาเป็นสารตัวเดิมนั้นพบว่า ยางธรรมชาติที่ใช้เถ้าแกลบจะให้สมบัติต่างๆ ที่ทดสอบใกล้เคียงกับยางที่ใช้ซิลิกาเป็นสารตัวเติม และการใช้เถ้าแกลบในปริมาณ 0 - 60 phr จะทําให้ยางธรรมชาติมีสมบัติต่างๆ ดีขึ้นแต่เมื่อใช้เถ้า แกลบในปริมาณสูงกว่า 60 per ยางจะมีสมบัติทางกายภาพลดลง จากการศึกษาการใช้เถ้าแกลบ ร่วมกับไดเอทธีลีนไกลคอลพบว่า เมื่อปริมาณไดเอทธีลีนไกลคอลเพิ่มขึ้นยางจะมีสมบัติการวัลคา ไนซ์ดีขึ้น โดยที่ปริมาณการใช้ 1 - 5 phr จะให้สมบัติการวัลคาไนซ์และสมบัติทางกายภาพดีขึ้น นั่นคือไดเอทธีลีนไกลคอลสามารถใช้ร่วมกับเถ้าแกลบได้ และจากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของยางธรรมชาติด้วย SEM. พบว่าขนาดอนุภาคและปริมาณของสารตัวเดิมมีผลต่อการกระจายตัวในยางโดยยางธรรมชาติที่ใช้ซิลิกาจะมีการกระจายตัวดีกว่ายางที่ใช้เถ้าแกลบเป็นสารตัวเดิม และการใช้เถ้าแกลบในปริมาณ 50 phr จะมีการกระจายตัวดีที่สุด |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 4 ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง |
|