การพัฒนาชุดการสอน

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทัศนีย์ ประธาน

สำนักพิมพ์: 

คณะครุศาสตร์

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.519.5071 ท118ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการสอน และหาประสิทธิภาพของชุดการสอน ชุด “สถิติเพื่อการวิจัย” สําหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฏสงขลา และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอน ด้วยชุดการสอนในรูปแบบที่แตกต่างกัน การพัฒนาชุดการสอนครั้งนี้ได้พัฒนาจากเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาสถิติเพื่อการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาการศึกษา ชั้นปีที่ 2 และ ปีที่ 3 สถาบันราชภัฏสงขลาในปีการศึกษา 2545 จํานวน 139 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการฝึกปฏิบัติตามบัตรกิจกรรมในชุดการสอนแต่ละชุดย่อย และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 1 กลุ่ม การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม และการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1- test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ชุดการสอน “สถิติเพื่อการวิจัย” ที่พัฒนาขึ้นเป็นชุดการสอนสําหรับใช้สอนใน เนื้อหาการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 1 กลุ่ม และ 2 กลุ่ม ซึ่งทดสอบ ด้วย t-test ประกอบด้วย ชุดการสอน 2 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยชุดย่อย 3 ชุด ภายในชุดการสอนประกอบด้วย บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม : โจทย์ปัญหาสําหรับฝึกเป็นกลุ่ม บัตรเฉลย บัตรกิจกรรมสําหรับฝึกเป็นรายบุคคล บัตรเฉลย ชุดการสอนแต่ละชุดจะมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อทดสอบความรู้ความสามารถของนักศึกษาหลังจากศึกษา ชุดการสอน 2. ชุดการสอนชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มีประสิทธิภาพกระบวนการ (E) เป็นไปตาม เกณฑ์ที่กําหนด (ค่าเฉลี่ยร้อยละ 70) และเมื่อพิจารณาชุดการสอนย่อยพบว่า ชุดย่อยตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ของชุดการสอนชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มีประสิทธิภาพกระบวนการไปตามเกณฑ์ที่กําหนด ประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E) เป็นไปตามเกณฑ์เฉพาะชุดย่อยตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ของ ชุดการสอนชุดที่ 1 ส่วนประสิทธิภาพด้านพัฒนาการของความรู้ความสามารถพบว่า เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดคือ นักศึกษาหลังจากศึกษาด้วยชุดการสอนแล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนใช้ชุดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และชุดการสอนชุดนี้สามารถใช้ได้ทั้งนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากหลังจากการศึกษาด้วยชุดการสอนครบกระบวนการแล้ว นักศึกษาทั้ง 2 สาขามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเนื้อหา ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน ที่นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาสาขาการศึกษา และเนื้อหาการเลือกสถิติการนําเสนอ และการแปลผลที่นักศึกษาสาขาการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลําดับ 3. รูปแบบการนําชุดการสอนไปใช้พบว่า นักศึกษาที่ใช้ชุดการสอนครบกระบวนการ ทั้ง 2 ชุด (รูปแบบที่ 1) และนักศึกษาที่ใช้ชุดการสอนครบกระบวนการเฉพาะชุดที่ 2 ส่วน ชุดที่ 1 ศึกษาจากบัตรเนื้อหาประกอบการบรรยายของผู้สอน (รูปแบบที่ 2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักศึกษาที่ใช้ชุดการสอนในรูปแบบศึกษาบัตรเนื้อหาประกอบการบรรยายของผู้สอนทั้ง 2 ชุด (รุปแบบที่ 3) นอกจากนี้พบว่า นักศึกษาหลังจากศึกษาชุดการสอนด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน ในแต่ละรูปแบบมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก่อนศึกษาชุดการสอนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกรูปแบบ ส่วน รูปแบบที่เหมาะสมที่สามารถนําไปใช้ให้เหมาะกับเวลา และสภาพของนักศึกษา คือ ให้ศึกษาด้วยตนเองจากบัตรเนื้อหา และบัตรกิจกรรม : โจทย์ปัญหา พร้อมตรวจสอบความถูกต้องจากบัตรเฉลยนอกเวลาเรียน ส่วนในเวลาเรียนตามตารางดําเนินการด้วยการอภิปรายร่วมกัน และทดสอบด้วยบัตรกิจกรรมเป็นรายบุคคลแล้วจึงตรวจสอบความถูกต้องด้วยบัตรเฉลย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก