พฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการของนักศึกษาสถาบันราชภัฏสงขลา : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุจิตรา เทพไชย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว. 641.1072 ส42พ

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคในด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักศึกษา ตามตัวแปร เพศ ศาสนา และภูมิสําเนา และเพื่อศึกษาภาวะโภชนาการและความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคกับภาวะโภชนาการของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสถาบัน ราชภัฏสงขลา ชั้นปีที่ 1 ที่มี อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 246 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามเจตคติและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และแบบบันทึกภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า “ที” และค่า ไค-สแควร์ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษา ด้านความรู้ พบว่า นักศึกษามีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี นักศึกษาชายและหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดย นักศึกษาหญิงมีความรู้ดีกว่านักศึกษาชาย ส่วนนักศึกษาที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม นักศึกษาที่มีภูมิลําเนาอยู่ในชุมชนเมืองและชุมชนชนบทมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านเจตคติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเจตคติ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งเจตคติทางบวกที่นักศึกษามีคะแนนอยู่ในระดับดี ได้แก่ การบริโภคอาหารครบทุกหมู่ไม่จําเป็นต้องเสริมด้วยวิตามิน การบริโภค ข้าวกล้องมีผลดีต่อสุขภาพ การบริโภคปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ดีเพราะมีสารช่วยบํารุงสมอง การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปิ้งย่าง รมควันบ่อย ๆ ไม่ดีเพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง การบริโภค ผักและผลไม้เป็นประจําดี เพราะช่วยให้ร่างกายต้านทานต่อการเกิดโรคมะเร็ง การบริโภคอาหารรสจัดแม้จะอร่อยแต่ทําให้เสียสุขภาพ การบริโภคผักและผลไม้เป็นประจําที่ เพราะช่วย บํารุงผิวพรรณให้สดชื่น การดื่มนมจําเป็นต่อวัยรุ่น และพบว่า เจตคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักศึกษา ไม่แตกต่างกันตามตัวแปร เพศ ศาสนา และภูมิลําเนา ด้านการ ปฏิบัติตน พบว่า คะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีข้อที่นักศึกษาปฏิบัติตนในทางบวกและมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ได้แก่ การบริโภคอาหารหลากหลายชนิดใน 1 วัน การบริโภคผักใบเขียว การบริโภคผลไม้สด การบริโภคอาหารทะเล การบริโภคอาหารหลักวันละ 3 มื้อ การใช้ช้อนกลางเมื่อบริโภคอาหาร ร่วมกับผู้อื่น การเลือกซื้ออาหารสําเร็จรูปโดยพิจารณาฉลากข้อมูลทางโภชนาการและวันหมดอายุที่ภาชนะบรรจุ การเลือกซื้ออาหารโดยพิจารณาถึงความสะอาดมากกว่าความอร่อย ส่วนการปฏิบัติตนในการบริโภคอาหารฟาสต์ฟูดส์และอาหารที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ คะแนนเฉลี่ยอยู่ ในระดับปานกลาง และพบว่า นักศึกษาชายและหญิงมีคะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับ การบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001 โดยนักศึกษาหญิง ปฏิบัติตนเกี่ยวกับการบริโภคอาหารดีกว่านักศึกษาชาย ส่วนนักศึกษาที่นับถือศาสนาพุทธและ ศาสนาอิสลามที่มีภูมิลําเนาอยู่ในชุมชนเมือง และชุมชนชนบท มีการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการ บริโภคอาหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ภาวะโภชนาการของนักศึกษาซึ่งประเมินโดยใช้ดัชนีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ พบว่า ส่วนใหญ่ นักศึกษามีส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 85.31 (มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุร้อยละ 82.45 ค่อนข้างเตี้ยร้อยละ 2.86) ส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ดี (ค่อนข้างสูง) ร้อยละ 6.49 และมีภาวะ ทุพโภชนาการในด้านการขาดสารอาหาร (เตี้ย) ร้อยละ 2.45 และเมื่อประเมินภาวะโภชนาการ โดยใช้ดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษามีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ ปกติร้อยละ 95.12 (สมส่วน ร้อยละ 87.40 ค่อนข้างผอม ร้อยละ 4.47 และท้วม ร้อยละ 3.25) และมีภาวะทุพโภชนาการในด้านขาดและเกิน ร้อยละ 4.87 (ผอม ร้อยละ 0.81 เริ่ม อ้วน ร้อยละ 3.25 อ้วน ร้อยละ 0.81) สรุปได้ว่าภาวะโภชนาการของนักศึกษาโดยภาพรวม ส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการที่ดี และจากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคในด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะ โภชนาการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

รายการอ้างอิง

ภาคผนวก