การสร้างชุดการสอน เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในระดับก่อนประถมศึกษา ถึงอุดมศึกษา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทัศนีย์ ประธาน, เพียร ซ้ายขวัญ, พวงเล็ก วรกุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.507 ท118ก

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อสร้างชุดการสอนและแบบทดสอบสําหรับฝึก และวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ และเหมาะสําหรับนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสํานักงานสามัญศึกษาจังหวัดสงขลา และนักศึกษาปีที่ 1 ปีที่ 2 สถาบันราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยทักษิณ จํานวน 1,549 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองตามสภาพจริงซึ่งเป็นการสอนโดยครูประจําการที่ผ่านการอบรมด้านกระบวนการวิจัย ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการใช้ชุดฝึกทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการทดลองที่ใช้เป็นแบบทดลองก่อนและหลัง (Pretest Posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างโดยคณะผู้วิจัย เพื่อวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จํานวน 5 ฉบับ แบบทดสอบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ที่สร้างโดยไพฑูรย์ สุขศรีงาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย t-test (2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะระดับก่อนประถมศึกษาประถมศึกษาปีที่ 2 และ ปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 5 และอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละของกระบวนการ (E) และค่าเฉลี่ยร้อยละของผลลัพธ์ (E) ตามลําดับดังนี้ 85.30/88.37 87.28/41.58 78.30/45.50 84.83/40.96 87.08/45.63 และ 89.10/50.08 ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะจากการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะพบว่า ค่าเฉลี่ยของ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน นักศึกษาหลังใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วสูงกว่า ก่อนใช้ชุดฝึกทักษะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกระดับชั้น สําหรับเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ทดสอบ เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีที่ 5 และอุดมศึกษา 2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สําหรับนักเรียน อนุบาลปีที่ 2 มีคุณภาพค่อนข้างง่าย และอํานาจจําแนกในระดับใช้ได้ (ค่าเฉลี่ย ระดับความยาก 0.37 และค่าอํานาจจําแนก 0.24) ส่วนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 5 และอุดมศึกษา มีความยากง่ายในระดับปานกลาง และค่าอํานาจจําแนกในระดับใช้ได้ (ค่าเฉลี่ยระดับความยากอยู่ระหว่าง 0.41 - 0.47 และค่าเฉลี่ยอํานาจจําแนกอยู่ ระหว่าง 0.24 - 0.33) แม้ว่าในแต่ละฉบับคุณภาพรายข้อยังต้องปรับปรุง แต่มีค่าความเที่ยงในระดับค่อนข้างสูง (ค่าระหว่าง 0.62 -0.76) และคุณภาพด้านความตรง ตามโครงสร้างในระดับค่อนข้างสูง โดยพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่า แบบทดสอบแต่ละฉบับ ประกอบด้วยข้อคําถามที่วัดได้ตรงตามนิยามเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่ามีคําถามบางข้อที่ผู้เชี่ยวชาญไม่แน่ใจเนื่องจากภาพไม่ชัด และมีคุณภาพด้านความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทักษะย่อย และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ กับคะแนนรวมทุกทักษะพบว่า สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมทุกทักษะหลังฝึกทักษะสูงกว่า ก่อนฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกระดับชั้น

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก