การวิเคราะห์งานวิจัยทางการเกษตรของสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุรพล มนัสเสรี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.630.72 ส47ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจําแนกลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์งานวิจัยทางการเกษตรของสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ และเพื่อการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการวิจัยทางการเกษตรเพื่อจะนําไปใช้ในการพัฒนาภาคใต้ วิธีการดําเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเอกสารโดยมีเครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์งานวิจัย และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ รายงานการวิจัยด้านการเกษตรและวิทยานิพนธ์ปริญญาโททางการเกษตรของสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ที่พิมพ์ เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 – 2545 จํานวนทั้งสิ้น 467 เรื่อง ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่างานวิจัยของคณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์มีมากที่สุดร้อยละ 53.74 ลักษณะของงานวิจัยทั้งหมดทุกสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่เป็นรายงานการวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยถึงร้อยละ 79.44 ผู้ทําการวิจัยเป็นอาจารย์ประจําที่มีตําแหน่งอาจารย์มากที่สุดร้อยละ 36.20 ปี ที่ทําการวิจัยมากที่สุด คือปี พ.ศ.2542 มีร้อยละ 14.13 ปีที่เผยแพร่งานวิจัยมีมากที่สุดร้อยละ 15.20 ในปีพ.ศ.2543 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี มีมากที่สุดร้อยละ 68.31 ลักษณะการวิจัยเป็นการวิจัยเกี่ยวมากที่สุดร้อยละ 54.39 ส่วนการวิจัยเป็นคณะจํานวนผู้วิจัยเริ่มจาก 2 คนถึง 5 คนมากน้อยตามลําดับที่มีจํานวนเกิน 5 คน มีน้อยมาก เป็นการวิจัยสาขาพืชศาสตร์มากที่สุด ร้อยละ 37.10 และทําการวิจัยมากในมิติด้านเทคโนโลยีชีวภาพ วิธีการวิจัยที่ใช้มากคือการวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดมีถึงร้อยละ 33.27 รองลงมาคือการลงมือปฏิบัติการในห้อง Lab สถานที่ทําการวิจัยที่ใช้เป็นส่วนใหญ่คือการวิจัยในห้องปฏิบัติการหรือแปลงทดลองมีร้อยละ 67.75 ที่เหลือเป็นการวิจัยในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่จริง สถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT มากที่สุดร้อยละ 31.25 แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการวิจัยเป็นงบประมาณแผ่นดินมากที่สุดร้อยละ 60.17 หัวข้อวิจัยเป็นการวิจัย เกี่ยวกับไม้ผลและการวิจัยเกี่ยวกับโค สุกร และสัตว์ปีก เป็นหลัก มีข้อค้นพบที่มีประโยชน์จากงานวิจัยหลายประการ ได้แก่การทดสอบพืชพันธุ์ดี การวิจัยไม้ผลที่สําคัญในท้องถิ่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การวิจัยแพะ อาหารสัตว์ อุตสาหกรรม เกษตรท้องถิ่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดํา การแก้ปัญหาดินพรุ เป็นต้น การเสนอแนะแนวทางการพัฒนางานวิจัยให้ทําการวิจัยแบบครบวงจร โดยจัดทําเป็นชุดวิจัยโครงการใหญ่เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาของเกษตรกรให้เป็นประโยชน์ และเกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถพัฒนาการใช้ทรัพยากรและศักยภาพที่เหมาะสมของภาคใต้ให้เกิดประโยชน์ได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก