ภูมิปัญญาชาวบ้านแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เกษม ขนาบแก้ว

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2540

เลขหมู่: 

398.2 ก58ภ

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาชาวบ้านแถบลุ่มทะเลสาบสงขลา ที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง โดยศึกษาจากวรรณกรรมหนังตะลุง จํานวน 96 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏในวรรณกรรม หนังตะลุง ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้คําและการใช้สํานวนโวหาร ภูมิปัญญาด้านการประพันธ์ ได้แก่ การเลือกใช้รูปแบบคําประพันธ์ การเลือกใช้คําที่มีเสียงลีลาจังหวะที่เหมาะสม การใช้การบรรยายและการพรรณนา ที่กระชับและบ่งบอก นาฏการ ภูมิปัญญาด้านการสอน ได้แก่ กลวิธีการสอนแบบต่างๆ และเนื้อหาที่สอน ได้แก่ วิสัยโลก คุณธรรม จริยธรรม และ สัจธรรม ภูมิปัญญาด้านการสร้างอารมณ์ขัน ได้แก่ การหักมุม การใช้คําผวน การใช้คํา 2 แง่ 2 มุม การใช้สัญชานไร้สารูป การล้อบุคคลและ สังคม การเล่นคําเล่นภาษา การใช้เกลือจิ้มเกลือ การใช้และไม่ใช้เหตุผล ภูมิปัญญาด้าน อื่น ๆ ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านความเชื่อ ซึ่งได้แก่ความเชื่อในหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและความเชื่อในเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูมิปัญญาด้านการตัดต่อเรื่อง ได้แก่ การตัดต่อเรื่องที่กระชับและการใช้สิ่งแวดล้อมมาประกอบ ภูมิปัญญาค้านการใช้สัญลักษณ์ ได้แก่ การใช้สัญลักษณ์แทนเพศหญิง-ชาย สัญลักษณ์แทนอารมณ์ใคร่ และสัญลักษณ์แทนพฤติกรรมทางเพศของหญิง-ชาย ภูมิปัญญาด้านการประยุกต์ ได้แก่ การประยุกต์การเล่นโนรา การเล่นลําตัด การเล่นเพลงบอก การเล่นปริศนาคําทาย และการร้องเพลงลูกทุ่ง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

บทคัดย่อ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บทที่ 6

บทที่ 7

บทที่ 8

บทที่ 9

บทที่ 10

บรรณานุกรม

ประวัติผู้แต่ง