กระบวนทัศน์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ในพุทธศาสนา : ศึกษาโดยวิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวคิดตะวันตก

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อำนวย ยัสโยธา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2540

เลขหมู่: 

294.3013 อ215ก

รายละเอียด: 

ถึงแม้ว่าทางสมัชชาสหประชาชาติจะได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไว้แล้ว แต่ปรากฏว่ายังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆอยู่อย่างกว้างขวาง ในทุกส่วนของโลก จึงทําให้เป็นที่วิตกกังวลว่าทําอย่างไรจึงจะให้การใฝ่หาสิทธิเสรีภาพให้แก่กลุ่มพวกของตน ไม่กลายเป็นการละเมิดสิทธิของมนุษย์กลุ่มพวกอื่นในขณะเดียวกันด้วย จากการศึกษาพบว่าตามแนวคิดแบบตะวันตกได้วางอุดมการณ์ ไว้ว่ามนุษย์แต่ละคนเกิดมามีอิสระ, มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ต่างก็มีเหตุผลและมโนธรรม มนุษย์จึงควรปฏิบัติต่อกันโดยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ และเมื่อวางอุดมการณ์ไว้แล้วก็ได้วางหลักการพื้นฐาน ไว้ว่า มนุษย์แต่ละคนพึงปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค เขาจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพียงเพราะความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา สีผิว หรือความคิดเห็นทางการเมืองใดๆ และเพื่อที่จะให้บรรลุอุดมการณ์ดังกล่าว จึงได้วาง หลักปฏิบัติ ไว้ในปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ๓๐ ข้อ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก ๑๐ ข้อ และในปฏิญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อหญิง ๑๑ ข้อ ในเนื้อหาทั้งหมดนี้โดย สาระแล้ว ล้วนมุ่งเน้นคุ้มครองสิทธิในชีวิต ทรัพย์สิน เสรีภาพ และสิทธิในการแสวงหาความสุข ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ที่วางไว้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากแนวคิดแบบตะวันตกตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดแบบ ปัจเจก นิยม เสรีนิยม ทุนนิยม บริโภคนิยม ธุรกิจนิยม และวัตถุนิยม และมองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “สิทธิ” ซึ่งค่านิยมแบบนี้แม้จะมีส่วนเกื้อหนุนต่อสิทธิมนุษยชนในบางแง่ แต่ก็มีส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อการก้าวไปสู่อุดมการณ์สิทธิมนุษยชนในบางแง่ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นแนวคิดแบบนี้จึงไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิ มนุษยชนอย่างแท้จริงได้ ถ้าจะพิจารณาในกระบวนทัศน์ของพุทธศาสนาดูบ้างจะพบว่าในหลักคําสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น หลักธรรม กับ หลักวินัย นั้น ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ ละชั่ว ทําดี ทําใจให้ผ่องแผ้ว หรือเพื่อ ความดับทุกข์ และในหลักคําสอนดังกล่าวนี้ยังมีกระบวนทัศน์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน คือพุทธศาสนาถือว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เกิดมา มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ที่สมมติเรียกให้ต่างกันก็เพราะ “กรรม” อันเป็นการ กระทําของตนเอง ชีวิตของแต่ละคนต่างก็ประกอบขึ้นด้วยขันธ์ ๕ ต้องตกอยู่ภายใต้ กฎไตรลักษณ์ และมีสิทธิที่จะบรรลุมรรค ผล นิพพานเสมอกัน แต่ในแง่ของ เสรีภาพ พุทธ ศาสนามีทัศนะแตกต่างไปจากของตะวันตกตรงที่ถือว่า มนุษย์มิได้เกิดมามีเสรีภาพแต่เดิม ทั้งนี้เพราะถูกครอบงําด้วยทุกข์ ทั้งทุกข์ประจําสังขารและทุกข์จร ฉะนั้นมนุษย์จึงต้องบําเพ็ญเพียรตามหลัก “อริยมรรคมีองค์ ๘” เพื่อเข้าถึงเสรีภาพคือหลุดพ้นจากทุกข์ ซึ่งถือว่าเป็นเสรีภาพที่แท้จริง และบนเส้นทางดังกล่าวนี้มนุษย์จะต้องบําเพ็ญตนให้ถึงพร้อม ด้วย ไตรสิกขา แล้วจะได้ชื่อว่าเป็นการรักษาตน ให้ดีก่อน เมื่อรักษาตนดีแล้วย่อมได้ชื่อว่า เป็นการรักษาผู้อื่นด้วย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้อื่นด้วย นั่นเอง ส่วน ในแง่ของ ภราดรภาพ พุทธศาสนาถือว่าในสังสารวัฏอันยาวนานสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วน เคยเป็นภราดรกัน จึงพึงเมตตากรุณาและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อที่จะบรรลุอุดมการณ์ดังกล่าว พระพุทธองค์จึงทรงรับคนทุกวรรณะเข้าบวชใน พุทธศาสนาได้ แต่เมื่อบวชเข้ามาแล้วต้องละวรรณะเดิมเข้ามาดํารงสถานะใหม่และปฏิบัติ ตามวินัยที่บัญญัติแล้วโดยเสมอกัน ในทาง หลักปฏิบัติ(หลักวินัย) ได้ทรงวางทั้ง อาคาริย วินัย สําหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน และ อนาคาริยวินัย สําหรับนักบวช โดยให้ภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ สิกขาบท, ภิกษุณี ๓๑๑ สิกขาบท สามเณรและสามเณรี ๑๐ สิกขาบท ในเนื้อหาทั้ง หมดนี้ โดย สาระ แล้วล้วนมุ่งเน้น การรักษาตน ให้ดีก่อน แล้วจะได้ชื่อว่า ช่วยรักษาผู้อื่น ในขณะเดียวกันด้วย 2 ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่สอดคล้องกับโลกทัศน์แบบ จิตนิยม, สัมพันธภาพนิยม และมองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “เมตตา” นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการแก้ปัญหาจากภายในตนเองก่อน ฉะนั้นจึงเป็นข้อเด่นที่จะ ช่วย “เติมเต็ม” ในข้อด้อยของแนวคิดแบบตะวันตกที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาจากปัจจัยภายนอกก่อน เพราะฉะนั้นถ้านําทัศนะของพุทธศาสนามา “ผสาน” กับแนวคิดแบบตะวันตก ก็ จะช่วยแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างจริงจัง และจะเป็นกุญแจนําไปสู่สันติภาพได้มากกว่า อนึ่ง ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ คือ ทําอย่างไรจึงจะสร้างกระบวนการปลูกจิตสํานึกให้มนุษย์ยึดถือเอาหลักคําสอนในศาสนาของตนมาเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตให้มากยิ่งขึ้น ถ้าทําได้ดั่งนี้ก็จะช่วยให้การใฝ่หาสิทธิเสรีภาพให้แก่กลุ่มพวกของตนเองไม่กลายเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของมนุษย์กลุ่มพวกอื่นในขณะเดียวกันด้วย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

ส่วนหน้า

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บทที่ 6

บทที่ 7

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง