กระบวนการต้องโทษ ในประมวลกฏหมายอาญากับในวินัยสงฆ์ การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อำนวย ยัสโยธา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2529

เลขหมู่: 

ว.294.3122 อ215ร

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษา "กระบวนการต้องโทษ” ในประมวลกฎหมายอาญากับในวินัยสงฆ์ เพื่อที่จะนํามาศึกษาวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบกันในประเด็นที่น่าสนใจ ลักษณะของการวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร รายงานผลการวิจัยในรูปแบบของการ” พรรณนาวิเคราะห์" (analytical description) ขอบเขตของการวิจัยได้จํากัดกรอบไว้เฉพาะในแง่ของ "กระบวนการต้องโทษ” ใน กฎหมายอาญากับในพระวินัย โดยจํากัดกรอบเนื้อหาให้อยู่ในขอบเขต คือ 1 บทบาทของกฎหมายกับบทบาทของพระวินัยต่อการกําหนดความผิดและโทษ 2 กระบวนการบัญญัติความผิด และ โทษในกฎหมายกับในพระวินัย 3 ลักษณะของการกระทําที่ถือว่าเป็นความผิด และต้องรับโทษในกฎหมายกับในพระวินัย 4 ความผิดและโทษที่จะได้รับจากการล่วงละเมิดกฎหมายกับพระวินัย 5 กระบวนการพิจารณาคดีในกฎหมายกับในพระวินัย ผลของการวิจัยปรากฏดังนี้ ( DHA 1 ทั้งกฎหมายและพระวินัยต่างก็มีบทบาทอย่างสูงต่อการจัดระเบียบสังคม ถือได้ว่าทั้ง กฎหมายและพระวินัยต่างก็เป็น “วิศวกรสังคม” (Social engineering) คือมีบทบาทต่อการ ออกแบบ และสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม ตลอดจนกําหนดกฎเกณฑ์เพื่อใช้ บังคับความประพฤติให้เป็นไปตามที่กฎหมายและพระวินัยต้องการ ทั้งกฎหมาย และพระวินัยต่างก็มี ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบต่อกันในบางแง่บางประเด็น ถ้าจะให้ดีที่สุดจะต้องใช้ทั้งกฎหมายและ พระวินัยควบคู่กันไป 2 กระบวนการบัญญัติความผิดและโทษในกฎหมายกับในพระวินัย มีกระบวนการที่พอจะ เปรียบเทียบกันได้คือ การบัญญัติกฎหมายในสมัยก่อนการปกครองด้วยระบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ ด้วยพระองค์เองหรือทรงแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติขึ้นเพื่อ ขกร่างก็ได้ แต่ในสมัยการปกครองด้วยระบบรัฐสภา การร่างกฎหมายกระทําได้โดยผ่านระบบ รัฐสภา ส่วนกระบวนการบัญญัติความผิดและโทษในพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงมีอํานาจสิทธิ์ขาด แต่เพียงพระองค์เดียวที่จะบัญญัติพระวินัยสิกขาบทใด ๆ ชิ้นใช้ การบัญญัติพระวินัยพระพุทธเจ้า จะทรงกระทําก็ต่อเมื่อมีมูลเหตุแห่งการบัญญัติพระวินัยเกิดขึ้นก่อน เมื่อมีเรื่องเป็นที่โจษขานชิ้นแล้ว ก็จะทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อได้ความสมจริงแล้วก็จะทรงกระทํา "ธรรมีกถา” ชี้ “พระปฐมบัญญัติ" ถ้าต่อมามีภิกษุรูปใดอาศัยช่องโหว่ของพระปฐมบัญญัติเพื่อละเมิดพระวินัยใน ลักษณะที่คล้ายคลึงกันอีก ก็จะทรงบัญญัติ "พระอนุบัญญัติ” ในลําดับถัดมา 3 ลักษณะของการกระทําที่ถือว่าเป็นความผิด และต้องรับโทษในกฎหมายกับในพระวินัย ในกฎหมายถือว่ากระทํานั้นเป็นความผิดและต้องรับโทษ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ก่อนว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและต้องรับโทษ เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วและมีผู้ละเมิดอีก ก็ให้พิจารณาว่าการกระทํานั้นเป็นการกระทําตามความหมายของกฎหมายหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทําตามความ หมายของกฎหมายก็ให้พิจารณาต่อไปว่าครบองค์ประกอบภายนอกและภายในหรือไม่ ถ้าครบองค์ประกอบของความผิด ก็ให้พิจารณาต่อไปว่ามีกฎหมายยกเว้นความผิดสําหรับการกระทํานั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดก็ให้พิจารณาต่อไปว่ามีกฎหมายยกเว้นโทษสําหรับความผิดนั้นหรือไม่ ถ้าพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ครบถ้วนแล้วก็ถือว่ามีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วน ในพระวินัยมีหลักการพิจารณาการกระทําที่ถือว่าเป็นความผิด และต้องรับโทษพอจะเปรียบเทียบกัน ได้ในทํานองเดียวกัน ทั้งในส่วนที่เป็นลักษณะของการกระทํา, องค์ประกอบของการกระทําคือ “สจิตตกะ” อันได้แก่ความจงใจหริ้อเจตนาและ “อจิตตกะ” อันได้แก่ความไม่จงใจหรือไม่เจตนา และพิจารณาถึงพระวินัยได้รัญญัติยกเว้นความผิดและโทษสําหรับความผิดนั้นหรือไม่ 4 ความผิดและโทษที่จะได้รับจากการล่วงละเมิดกฎหมายกับพระวินัย ความผิดทางอาญา แบ่งได้ 12 ลักษณะ และโทษทางอาญามี 5 สถาน ส่วนความผิดและโทษในพระวินัยแบ่งตามชนิด อย่างกลาง ได้แก่ "สังฆาทิเสส” มี 13 สิกขาบท และอาบัติอย่างเบา อันได้แก่ ถุลลัจจัย, ปาจิตตีย์, ปาฏิเทสนียะ, ทุกกฏ และทุพภาษิต มีหลายสิกขาบท 5 กระบวนการพิจารณาคดีในประมวลกฎหมายอาญากับในพระวินัข กระบวนการยุติธรรม ในประมวลกฎหมายอาญาเริ่มต้นจากพนักงานสอบสวน, พนักงานอัยการ, ศาลชั้นต้น, ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาเป็นที่สุด ส่วนกระบวนการพิจารณาคดีในพระวินัย เมื่อภิกษุรูปใดกระทําผิดวินัยก็จะมี การฟ้องร้องกันในสํานักบุคคล, คณะบุคคล หรือสํานักสงฆ์ แล้วมีการไต่สวนคดีตามลําดับขั้นตอน จนกระทั่งมีคําวินิจฉัยเพื่อลงนิดหกรรม ถ้าคู่กรณีไม่พอใจคําวินิจฉัยนั้นก็สามารถอุทธรณ์หรือฎีกา ต่อพระพุทธเจ้า คําวินิจฉัยชี้ขาดของพระพุทธเจ้าถือเป็นที่สุด ส่วนการดําเนินคดีตามกฎมหาเถร สมาคม ให้ดําเนินการฟ้องร้องต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ถ้าคู่กรณีไม่พอใจคําวินิจฉัยการลงนิดหกรรม ก็สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา คําวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกา ถือเป็นที่สุด

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บทที่ 6

บทที่ 7

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง