การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการจำการอ่านออกเสียงคำไทยของนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบให้อ่านคำที่มีข้อความประกอบ กับที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบให้อ่านเป็นคำโดด และที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบให้อ่านเป็นคำโดดโดยให้นักศึ

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สว่างจิต พงศ์ศรีวัฒน์

สำนักพิมพ์: 

ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศษสตร์ วิทยาลัยครูสงขลา สหวิทยาลัยทักษิณ

ปีที่พิมพ์: 

2535

เลขหมู่: 

ว.495.91843 ส17ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจําการอ่านออกเสียงคําไทยของนักศึกษา ระหว่างกลุ่มที่เรียน โดยใช้วิธีสอนแบบให้อ่านคําที่มีข้อความประกอบ กับที่เรียน โดยใช้วิธีสอนแบบให้อ่านเป็นคําโดด และที่เรียน โดยใช้วิธีสอนแบบให้อ่านเป็นคําโดด โดยให้นักศึกษาฝึกอ่านด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีปีที่ 1 สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกประวัติศาสตร์ วิชาเอกภูมิศาสตร์ และวิชาเอกดนตรีศึกษา คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูสงขลา สหวิทยาลัยทักษิณ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2533 จํานวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน รวมจํานวนทั้งสิ้น 90 คน กําหนดเป็นกลุ่มทดลองที่หนึ่ง กลุ่มทดลองที่สอง และกลุ่มทดลองที่สามตามลําดับ การคัดเลือกกลุ่มทดลองและการกําหนดกลุ่มทดลอง ใช้วิธีลุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก รูปแบบของการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Pretest - Postest Control Group Design ดําเนินการทดลอง โดยการทดสอบความสามารถในการอ่านออกเสียงคําไทยกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนการทดลองสอน จากนั้นจึงทดลองสอนกลุ่มทดลองที่หนึ่ง โดยใช้วิธีสอนแบบให้อ่านคําที่มีข้อความประกอบ กลุ่มทดลองที่สอง ใช้วิธีสอนแบบให้อ่านเป็นคําโดด กลุ่มทดลองที่สาม ใช้วิธีสอนแบบให้อ่านเป็นคําโดดโดยให้นักศึกษาฝึกอ่านด้วยตนเอง แล้วทดสอบผลการเรียนกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม คือ ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านออกเสียงคําไทย ทันทีที่การทดลองสอนเสร็จสิ้นลง ทดสอบความคงทนในการจําการอ่านออกเสียงคําไทย หลังจากการทดลองสอนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ และทดสอบความคงทนในการจําการอ่านออกเสียงคําไทยอีกครั้ง หลังจากการทดลองลอนผ่านไปแล้วประมาณ 2 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูล จัดกระทําโดยนําคะแนนข้อมูลที่ได้จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการจําการอ่านออกเสียงคําไทย มาคํานวณค่าความมีนัยสําคัญทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way analysis of variance) พร้อม กับเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย t-test. และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อมูล ที่ได้จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านออกเสียงคําไทย กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบความคงทนในการจําการอ่านออกเสียงคําไทย หลังจากการทดลองสอนผ่านไปแล้วประมาณ 2 เดือน โดยใช้การคํานวณหาลหลัมพันธ์ของคะแนนแบบเปียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านออกเสียงคําไทยของกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความคงทนในการจําการอ่านออกเสียงคําไทยของกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านออกเสียงคําไทย กับความคงทนในการจําการอ่านออกเสียงคําไทยของนักศึกษา จําแนกตามกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแต่ละแบบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกกลุ่ม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก