การวิเคราะห์ความต้องการการฝึกอบรมของแรงงานผู้ถูกเลิกจ้างและนักเรียนมัธยมศึกษาที่ออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในจังหวัดสงขลา
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
สำนักวิจัย สถาบันราชภัฏสงขลา |
สำนักพิมพ์: |
สถาบันราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2541 |
เลขหมู่: |
ว.331.29593 ส14ก |
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจและวิเคราะห์ความต้องการการศึกษา และการฝึกอบรมของแรงงานผู้ถูกเลิกจ้าง และนักเรียนมัธยมศึกษาที่ออกจากโรงเรียนกลางคันเนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแรงงานผู้ถูกเลิกจ้างเนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ นักเรียนมัธยมศึกษาที่ออกจากโรงเรียนกลางคันเนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างงานในระดับจังหวัด และระดับสถานประกอบการรวมทั้งสิ้น จํานวน 216 คน และผู้ร่วมประชุมสัมมนาผลการวิจัยภาคสนาม จํานวน 32 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
แรงงานผู้ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26 - 45 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษา เหตุผลที่ถูกเลิกจ้างคือ นายจ้างปิดกิจการ ปัจจุบันอยู่เฉย ๆ ไม่มีงานทํา รองลงมา คือประกอบอาชีพ อิสระส่วนตัว ส่วนนักเรียนมัธยมศึกษาที่ออกจากโรงเรียนกลางคันส่วนใหญ่เรียนในระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 เหตุผลที่ออกจากโรงเรียนเนื่องจากผู้อุปการะไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายได้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการรับการอบรมของแรงงานผู้ถูกเลิกจ้าง และนักเรียนมัธยมศึกษาที่ออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเห็นสอดคล้องกันว่า ต้องการอบรมเกี่ยวกับงานด้านการเกษตร ค้าขาย และช่างต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะงานสําหรับแรงงานไร้ฝีมือ ส่วนผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างงานระดับจังหวัด และระดับสถานประกอบการส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันว่า การอบรมเพิ่มเติมที่ควรจัดให้แรงงานผู้ถูกเลิกจ้างและนักเรียนที่ออกจากโรงเรียนกลางคันควรเป็นงานลักษณะความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ งานช่างต่าง ๆ ภาษาต่างประเทศ และคุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนางาน ในความรับผิดชอบเช่น การมีจิตสํานึกในการทํางานในหน้าที่ความรับผิดชอบหรือทํางานอย่างมีความสุข ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และจิตสํานึกในการบริการ นอกจากนี้ยังเห็นว่าหน่วยงาน หรือผู้ที่ควรรับผิดชอบในการจัดการอบรมควรจัดในลักษณะความร่วมมือของหน่วยงานที่รับผิดชอบหลาย หน่วยงานร่วมกัน และควรให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมรับผิดชอบและดําเนินการด้วย นอกจากนี้ ยังเสนอแนะว่าการอบรมควรจัดให้กับนักเรียนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานมากกว่าอบรมให้แรงงาน
ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาผลการวิจัยเห็นสอดคล้องกับผลสรุปการวิจัยภาคสนาม และได้เสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นด้านการสร้างคุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนางานมากกว่าการอบรมด้าน ความรู้และทักษะโดยให้เหตุผลว่าความรู้และทักษะนั้นมีการอบรมแล้วในสถานประกอบการ
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ส่วนหน้า
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
|
|
|