การวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วที่ตกค้างในปลาบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง โดยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรสโคปี

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ดวงใจ อินแก้ว , สุขณา ถิ่นกาแบง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.363.7384 ด17ก

รายละเอียด: 

การวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วที่ตกค้างในปลาจากทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ด้วยวิธีอะตอมมิกแอบ ซอร์พชั้นสเปกโทรสโคปี จํานวน 5 ชนิด ได้แก่ ปลากระพงขาว ปลากระบอก ปลากดทะเล ปลาแดง และ ปลาทู โดยทําการวิเคราะห์ในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม (ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่ง ตะวันออก จังหวัดสงขลา, 2540) เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับเกณฑ์กําหนดตะกั่วในอาหารตาม มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งได้กําหนดปริมาณสารตะกั่วในปลาได้ไม่เกิน 0.2 ppm ปรากฏว่าปลากระพงขาวมีปริมาณสารตะกั่วตกค้างเกินเกณฑ์กําหนดตะกั่วในอาหารตามมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุขเพียงเล็กน้อยโดยมีตะกั่ว 0.2039 ppm อาจมีสาเหตุเนื่องจากทะเลสาบสงขลามี ตะกั่วปนเปื้อนจากแบตเตอรี่ หมึกพิมพ์ สารต้านการน็อคในน้ํามันเชื้อเพลิง รวมทั้งน้ำทิ้งจากชุมชน และ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมรอบทะเลสาบสงขลา ซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนในทะเลสาบเกิน มาตรฐานคุณภาพน้ำตามที่กําหนด และสะสมในพืชกับสัตว์น้ำได้ (ประไพศรี ธรฤทธิ์, 2546)ส่วนตัวอย่าง ปลาที่เหลือ 4 ชนิด ได้แก่ ปลากระบอก ปลากดทะเล ปลาแดง และปลาทูมีปริมาณตะกั่วเท่ากับ 0.0729. 0.0869, 0.0139 และ 0.0122 ppm ตามลําดับ ซึ่งมีปริมาณตะกั่วต่ํากว่าเกณฑ์กําหนดตะกั่วในอาหาร ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขทั้งสิ้น ซึ่งหมายความว่าปลากระพงขาวที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในทะเลสาบสงขลาตอนล่างยังไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค ควรระมัดระวังในการบริโภค ส่วนปลา ชนิดอื่นๆอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภคแต่ก็ควรมีการติดตามตรวจสอบปริมาณตะกั่วที่ตกค้าง ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจากการทดลองเรื่อง การวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่วที่ตกค้างในปลาจากทะเลสาบ สงขลาตอนล่าง สามารถสรุปได้ว่าปลาที่ยังปลอดภัยในการบริโภคได้แก่ ปลากระบอก ปลากด ทะเล ปลาแดง และปลาทู ส่วนปลากระพงขาวมีการตกค้างของตะกั่วเกินเกณฑ์กําหนดตะกั่วในอาหาร ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยเพียงเล็กน้อย (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2532) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ถ้าบริโภคเข้าไปเป็นประจําจะเป็นพิษสะสม (Chromic Toxic) ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดอันตรายและหากผู้บริโภคได้บริโภคเข้าไปในปริมาณที่มากพอ ก็จะทําให้เกิดพิษฉับพลัน (Acute Toxic) โดยผู้บริโภคในแต่ละคนก็จะแสดงอาการของการรับพิษช้าหรือ เร็วแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ ปริมาณที่ได้รับ และสภาพร่างกายของแต่ละคน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้นในการที่จะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของตะกั่วในสัตว์น้ําบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาควรมี มาตรการในการลดมลพิษที่แหล่งกําเนิดเป็นสําคัญและพร้อมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจตลอดจนการปลูก จิตสํานึกในการเข้าใจถึงพิษและสารเคมีที่จะได้รับจากการปนเปื้อนในแหล่งน้ําและสัตว์น้ํา จึงควรมีการ ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังมิให้มีการปนเปื้อนของโลหะหนักเกินมาตรฐานแหล่งน้ําผิวดินอย่างต่อเนื่อง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการทดลอง

บทที่5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก