ศึกษาผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2545 - 2549 และกฎหมายอื่นที่ออกมาเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือคนพิการหรือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษด้านการให้บริการทางการศึกษา จังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วันทนีย์ บางเสน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.371.9072 ว115ศ

รายละเอียด: 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดําเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการดําเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2549 และ กฎหมายอื่นที่ออกมาเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือคนพิการหรือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ด้านการให้บริการทางการศึกษาของหน่วยงานที่ให้บริการทางการศึกษาแก่บุคคลที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างมาศึกษา มี 2 ลักษณะ คือลักษณะ ที่ 1 ได้แก่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 1-3 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 และศูนย์การศึกษาพิเศษประจํา จังหวัดพัทลุง ศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัดสตูล และโรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดสํานัก บริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา และโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา โรงเรียนละ 1 คน และโรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดองค์กรเอกชน ได้แก่ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ ศึกษาจากประชากร โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบการจัด การศึกษาคนพิการ หน่วยงาน ละ 1 คน (ในปีที่ศึกษาสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุงยังไม่แบ่งออกเป็น 2 เขต) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ โรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา จํานวน 193 โรงกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 10 ของประชากร ได้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสําหรับการศึกษาค้นคว้า ได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยอาศัยแนวคิดที่ได้จากการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง มี 5 ชุด ตามกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา แบบสัมภาษณ์แต่ละชุดมีจํานวนข้อกระทงคําถามที่ต่างกัน ซึ่งคําถามขึ้นอยู่กับกรอบภารกิจและบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างตามชุดแบบสัมภาษณ์ จัดกลุ่มตามประเด็นย่อย หา ความถี่ ตามชุดแบบสัมภาษณ์แต่ละชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ที่ได้จากการสัมภาษณ์ที่ได้จดบันทึกไว้ และแปลผลที่ค้นพบ และนำมาสังเคราะห์แล้วนำเสนอแบบบรรยายภาพรวมตามกรอบที่กําหนดไว้ พร้อมทั้งนําข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของแต่ละประเด็นมาสังเคราะห์แล้วนําเสนอแบบบรรยาย สรุปผลการวิจัย มีดังนี้ 1. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผลการวิจัยพบว่าในเชิงปริมาณสามารถดําเนินงานได้ บรรลุเป้าหมาย มีจํานวนโรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วมครบตามเป้าหมาย แต่ในเชิงคุณภาพยังมีปัญหาหลายประการทําให้ผลการดําเนินงานของโรงแกนนําเรียนร่วมไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาไม่เต็มตามศักยภาพเนื่องจากมีปัญหาในการดําเนินงานใน หลายระดับ ในส่วนของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น พบว่ามีปัญหาบางประการ เช่น โครงสร้าง งานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้กําหนดกลุ่มงานที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษที่แน่นอน ทําให้มีปัญหาในการประสานงานการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ข้อเสนอแนะการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้ 1) สร้างความเข้าใจและเจตคติที่ดีในการจัดการเรียนร่วมให้แก่บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษา 2) พัฒนาบุคลากรของโรงเรียนเรียนร่วมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ตรงตามความต้องการจําเป็น 3) ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วมให้บริหารจัดการโรงเรียนตามโครงสร้างซีทอย่างมีประสิทธิภาพ 4) นิเทศการจัดการเรียนรู้สําหรับนักเรียนเรียนร่วมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งนําผลการนิเทศไปใช้ในกระบวนการวิจัย พัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคล จัดให้มีแผนงาน กิจกรรม โครงการสนับสนุนผู้เรียนเรียนร่วมให้ครบกระบวนการ 2. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ผลการศึกษา พบว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษทั้ง 3 ศูนย์ ดําเนินงาน งานตามกรอบภารกิจ สามารถให้บริการ ทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงานที่สําคัญ ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษในบางลักษณะงานซ้ําซ้อนกัน ปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอกับภาระงานทําให้ภารกิจที่สําคัญบางประการยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร และผลงานการวิจัยทางด้านการศึกษาพิเศษที่มีน้อย ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1) ควรกําหนดบทบาท หน้าที่ ภาระงานระหว่างศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา ศูนย์ การศึกษาพิเศษประจําจังหวัด และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจน งานจะได้ไม่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อครอบคลุมงาน ในการส่งเสริม และช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2) เพิ่มอัตราครูและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษให้เพียงพอต่อภาระงาน 3) จัดอบรมหรือประชุมสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนเรียนร่วมทุกฝ่ายเพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เห็นความสําคัญในการส่งเสริมช่วยเหลือ และดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียน 4) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ควรมีกลุ่มงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัย บรรจุบุคลากรทางด้านการวิจัยและมีงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยทางการศึกษาพิเศษอย่างเพียงพอ 3. โรงเรียนเฉพาะความพิการ ผลการศึกษาพบว่า จากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีกฎหมายที่กําหนดมาตรการและวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้าน การศึกษาทําให้โรงเรียนเฉพาะความพิการ ได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งด้านอาคาร สถานที่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา วัสดุครุภัณฑ์ สื่อ และอุปกรณ์การเรียนการสอน 4. โรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วม ผลการศึกษา พบว่า ในเชิงปริมาณ มีจํานวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ในเชิงคุณภาพยังมีปัญหาหลายประการทําให้ผลการดําเนินงานของโรงแกนนําจัดการเรียนร่วมไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาไม่เต็มตามศักยภาพเนื่องจากมีปัญหาหลายประการ ทั้งปัญหาด้านบริหารจัดการ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านนักเรียนและผู้ปกครอง ขอเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1) โรงเรียนต้องกําหนดกรอบวิสัยทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนําวิธีการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT framework) มาใช้อย่างจริงจัง 2) ต้นสังกัดต้องบรรจุหรือจ้างครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษเพื่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอน รวมทั้งจัดอบรมประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการให้บริการอื่น ๆ เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ 3) ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทําวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาพิเศษ 4) นิเทศติดตามประเมินผลการเรียนการสอนของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 5) ควรเพิ่มงบประมาณให้แก่โรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ 6) โรงเรียน และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดควรประสานงานขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลกําหนดปฏิทินการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในการออกตรวจสุขภาพเด็กใน แต่ละโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในการวัดระดับสติปัญญาเพื่อนําไปจดทะเบียนคนพิการ 5. โรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดองค์กรเอกชน ผลการศึกษา พบว่าโรงเรียนมีความพร้อมสูงมากในการให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความบกพร้องทางการเห็น เนื่องจากโรงเรียนนี้เป็นสาขาของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมูลนิธิมีความพร้อม มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์สูง ถึงแม้โรงเรียนจัดตั้งมาประมาณ 4 ปี แต่มีความเข้มแข็งสามารถช่วยเหลือเด็กตาบอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถให้ความช่วยเหลือ โรงเรียนเรียนร่วม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการวิจัยพบว่าในเชิงปริมาณหน่วยงานทางการศึกษาทั้งหมดสามารถให้บริการ สามารถเข้าถึงการศึกษาและบริการอื่น ๆ อย่างอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เด็กที่มีความต้องการ พิเศษได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นปีละมากกว่าร้อยละ 15 แต่ในเชิงคุณภาพพบว่า หลายหน่วยงานยังมี ปัญหาอยู่ โดยเฉพาะโรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษในจํานวนที่มาก แต่มีโรงเรียนส่วนหนึ่งที่การให้บริการทางการศึกษา และการช่วยเหลือเด็กยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โรงเรียนยังขาดแคลนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้าน บุคลากร อาคารสถานที่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เจตคติที่ดีของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนร่วม ขาดการ วิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาพิเศษ และที่สําคัญคือโรงเรียนไม่ได้นําการบริหารจัดการ เรียนร่วมตามโครงสร้างซีทมาใช้อย่างจริงจัง ดังนั้นเพื่อให้การให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กที่มีความ ต้องการพิเศษมีประสิทธิภาพ เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยตัวเอง ได้ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข ทุกฝ่ายจะต้องเห็นความสําคัญของการจัด การศึกษาพิเศษ ร่วมกันพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการโรงเรียนเรียนร่วมให้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กําหนดไว้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 กฎหมายที่ออกมาเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือคนพิการหรือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษด้านการให้บริการทางการสึกษา

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล และอภิปรายผล

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย