การวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินที่ใช้ในการอุปโภคในพื้นที่หมู่ 6 บ้านไร่ และหมู่ 7 บ้านทรายขาว ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

รีวาย๊ะ บูตา, สุไวย์บ๊ะ สาเลราช

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.628.16 ร37ก

รายละเอียด: 

ตัวอย่างน้ำจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดินที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคในพื้นที่หมู่ 6 บ้านไร่ และหมู่ 7 บ้านทรายขาว ตําบลทุ่งหวัง อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา จาก 7 จุดเก็บตัวอย่างซึ่งทําการศึกษา ในเดือนมกราคม 2552 (ฤดูฝน) และเดือนมีนาคม 2552 (ฤดูแล้ง) โดยศึกษา 13 พารามิเตอร์ คือ ความลึก อุณหภูมิ ความขุ่น สภาพนําไฟฟ้า ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งแขวนลอย ปริมาณ ของแข็งละลายน้ํา ความเป็นกรดและด่าง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ค่าบีโอดี ไนเตรต ฟอสเฟต และซัลเฟต จากผลการวิเคราะห์ พบว่ามีความลึกอยู่ในช่วง 1.76-3.12 เมตร อุณหภูมิ 25-32 °C ความขุ่น 1.33-4.87 NTU สภาพน้ำไฟฟ้า 322-594 |us/cm ปริมาณของแข็งทั้งหมด 56-169 mg/L ปริมาณของแข็ง แขวนลอย (0.87-3.85 mg/L ปริมาณของแข็งละลายน้ำ 55-166 mg1. ค่าความเป็นกรดและด่าง 6.12-6.89 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ํา 4.36-6.84 mg/L ค่าบีโอดี 0.98-2.89 mg/L ไนเตรต 1.02-2.25 mg/L ฟอสเฟต 0.42-0.52 mg/L และซัลเฟต 53.75-65.91 เmg/L ซึ่งจากการศึกษาทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง พบว่า ผลการวิเคราะห์ส่วนใหญ่ค่าของฤดูแล้งมากว่าฤดูฝน พารามิเตอร์ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพน้ําผิวดินประเภทที่ 3 ยกเว้นค่าบีโอดีมีค่าสูงกว่ามาตรฐานเล็กน้อย ทั้งนี้พบว่าลักษณะของน้ำในพารามิเตอร์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงฤดูกาลที่แตกต่าง กัน กล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะทําให้ปริมาณธาตุอาหารบางพารามิเตอร์นั้นแปรผันตามอุณหภูมิ โดยในช่วงฤดูแล้งปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารในแหล่งน้ําจะมีมากขึ้น จึงสามารถนําข้อมูล และผลการศึกษานี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นําไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเพื่อส่งผลให้คุณภาพน้ํา ในสระน้ํามีคุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษาและอภิปราย

บทที่5 สรุปผลการทดลอง

บรรณานุกรม

ภาคผนวก