ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
สุกัญญา แลมะยะ, อามาณี มามะมูนา |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2548 |
|
เลขหมู่: |
ว.614.432 ส41ก |
|
รายละเอียด: |
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก พาหะหลักของโรค คือ ยุงลาย (Aedes aegypt) ซึ่งกําลังระบาดถึงขั้นทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก การกําจัดโดยใช้ สารเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดการดื้อยาในยุง ดังนั้น การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรจึง เป็นวิธีที่ดีในการทดแทนการใช้สารเคมี จึงได้ทําการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชสมุนไพร 2 ชนิด คือสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์และผักชีลา พบว่า สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วง หิมพานต์มีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าลูกน้ํายุงลายระยะที่ 3 และ 4 ที่ 24 ชั่วโมง มีค่า LCs) และ Logo เท่ากับ 0.94 mg/L, 1.66 mg/L ตามลําดับ และที่ 48 ชั่วโมง เท่ากับ 0.69 mg/L 1.41 mg/L ตามลําดับ รองลงมา คือ สารสกัดจากผักชีลาวที่ 24 ชั่วโมง มีค่า LC 10 และ LCs) เท่ากับ 3.83 mg/L, 6.45 mg/L ตามลําดับ และที่ 48 ชั่วโมง เท่ากับ 3.74 mg/L, 6.32 mgL ตามลําดับ 2 ผลกระทบต่อวงจรชีวิตของยุงลาย พบว่า ฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทําให้ ประชากรของยุงตายเพิ่มขึ้นมากกว่าสารสกัดจากผักชีลาว ค่าเฉลี่ยของจํานวนไข่ต่อตัวเมีย 1 ตัว ของสาร สกัดจากผักชีลาวมีจํานวนมากกว่าสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์และอัตราการฟักของจํานวน ลูกน้ําต่อตัวเมีย 1 ตัว สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีอัตราการฟักมากกว่าสารสกัดจากผักชีลาว เท่ากับ 48 เปอร์เซ็นต์ และ 41 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม จํานวนไข่และจํานวนลูกน้ําต่อ ตัวเมีย 1 ตัว มีจํานวนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่4 ผลการทดลองและวิเคราะห์ผลการทดลอง |
|