ทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากมูลฝอยของเทศบาลเมืองสิงหนคร

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

เสาวภา หมัดลิหมีน, อรอนงค์ ไพจิตรจินดา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.363.728 ส517ท

รายละเอียด: 

รายงานวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากมูลฝอย ของเทศบาลเมืองสิงหนคร โดยได้ทําการศึกษาถึงองค์ประกอบทางกายภาพและทางเคมีของมูลฝอย ภายในเทศบาลเมืองสิงหนคร อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งได้ทําการสํารวจแหล่งกําเนิด มูลฝอย ได้แก่ ตําบลหัวเขา ตําบลสทิงหม้อ ตําบลชิงโค และตําบลทํานบ อัตราการเกิดมูลฝอย การเกิดมูลฝอยประมาณ 18.5 ตัน/วัน จากการสํารวจปริมาณมูลฝอยพบว่า มูลฝอยส่วนใหญ่ของเทศบาลเมืองสิงหนครสามารถ นํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้มากกว่ามูลฝอยที่ไม่สามารถนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ วิธีการ กําจัดมูลฝอยของเทศบาลเมืองสิงหนครจะนําไปทําการกําจัดรวมกับมูลฝอยของเทศบาลเมืองนคร สงขลา โดยวิธีการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล จากการวิเคราะห์มูลฝอยของเทศบาลเมืองสิงหนคร โดยทําการสุ่มเก็บตัวอย่างโดยแบ่ง ช่วงเวลาการเก็บมูลฝอยเป็น 3 วัน จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบทางกายภาพ ได้แก่ ค่าองค์ประกอบของมูลฝอย (Composition) ประกอบด้วย เศษอาหาร 48.32 เปอร์เซ็นต์ พลาสติก 26.67 เปอร์เซ็นต์ กระดาษ 6.45 เปอร์เซ็นต์ โฟม 0.87 เปอร์เซ็นต์ ยาง 1.08 เปอร์เซ็นต์ อลูมิเนียม 1.18 เปอร์เซ็นต์ กระป๋อง 1.86 เปอร์เซ็นต์ พลาสติก 1.35 เปอร์เซ็นต์ ขวดแก้ว 7.26 เปอร์เซ็นต์ ขวดพลาสติก 1.35 เปอร์เซ็นต์ ผม 4.5 เปอร์เซ็นต์ เศษใบไม้ 7.85 เปอร์เซ็นต์ เศษผ้า 1.98 เปอร์เซ็นต์ ค่าความหนาแน่นของมูลฝอย (Bulk Density) 0.48 กิโลกรัมต่อลิตร ค่าปริมาณความชื้น 60.66 เปอร์เซ็นต์ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพพบว่ามีมูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้ ได้แก่ เศษอาหาร เศษใบไม้ รวม 56.17 เปอร์เซ็นต์ มูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ ได้แก่ พลาสติก กระดาษ โฟม ยาง อลูมิเนียม กระป๋อง ขวดพลาสติก ขวดแก้ว เศษผม เศษผ้า รวม 53.2 เปอร์เซ็นต์ มูลฝอยที่ เผาไหม้ได้ ได้แก่ พลาสติก กระดาษ โฟม ยาง ขวดพลาสติก เศษผม เศษผ้า เศษใบไม้ รวม 50.75 เปอร์เซ็นต์ มูลฝอยที่เผาไหม้ไม่ได้ ได้แก่ อลูมิเนียม กระป๋อง ขวดแก้ว เศษอาหาร รวม 58.62 เปอร์เซ็นต์ มูลฝอยที่รีไซเคิลได้ ได้แก่ พลาสติก กระดาษ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว เศษผ้า ยาง อลูมิเนียม รวม 46.65 เปอร์เซ็นต์ มูลฝอยที่รีไซเคิลไม่ได้ ได้แก่ เศษอาหาร เศษผม โฟม เศษใบไม้ รวม 61.54 เปอร์เซ็นต์ มูลฝอยที่ขายได้ ได้แก่ เศษอาหาร พลาสติก กระดาษ ขวดแก้ว อลูมิเนียม ยาง กระป๋อง ได้แก่ 94.17 เปอร์เซ็นต์ มูลฝอยที่ขายไม่ได้ เศษผม เศษใบไม้ โฟม เศษผ้า รวม 15.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนองค์ประกอบทางเคมี ค่าปริมาณของแข็ง (Total Solids) 39.24 เปอร์เซ็นต์ ค่าปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (Volatile Solids) 19.77 เปอร์เซ็นต์ ค่าปริมาณเถ้า (Ash) 80.07 เปอร์เซ็นต์ ค่าไนโตรเจน 0.29 เปอร์เซ็นต์ ค่าฟอสฟอรัส 1.1 เปอร์เซ็นต์ ค่าคาร์บอน11.07 เปอร์เซ็นต์ ค่าไฮโดรเจน 1.33 เปอร์เซ็นต์ และในทางเศรษฐศาสตร์จะมีการคาดการณ์ปริมาณ มูลฝอยและจํานวนประชากรในอนาคตของเทศบาลเมืองสิงหนครพบว่าจะมีปริมาณมูลฝอยและ จํานวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี AL TIS จากผลการวิเคราะห์เห็นว่ามูลฝอยในเทศบาลเมืองสิงหนคร มีความเหมาะสมที่จะกําจัด โดยวิธีการหมักทําปุ๋ย เพราะมีองค์ประกอบของมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ถึง 56.17 เปอร์เซ็นต์ และ ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ประโยชน์จากมูลฝอยของเทศบาลเมืองสิงหครคือทางเลือกที่ 1

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 การตรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษา

บทที่5 สรุปผลการศึกษา

บรรณานุกรม

ภาคผนวก