การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพาราโดยการติดตา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโหนด จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

กัญญา ระสิตานนท์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.พ.372.8 ก113ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพารา โดยการติดตา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโหนด จังหวัดสงขลา (2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการปฏิบัติงานการขยายพันธุ์ยางพาราโดยการติดตา และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน โดยใช้ หลักสูตรท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 19 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านโหนด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3 จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพารา โดยการติดตา แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานการติดตายาง จำนวน 15 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการขยายพันธุ์พาราโดยการติดตา มีคุณภาพความเหมาะสมระดับมาก (2) ผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นในแต่ละด้านดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 32.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.09 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.33 ผลการปฏิบัติงานการติดตายางอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.63 และความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.32 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.33

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีการดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปราผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย