ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

จรัสศรี ไชยกุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2550

เลขหมู่: 

ว.พ.507.12 จ17ผ

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบ การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียนก่อนและหลังเรียน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียน รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียน มี 4 ขั้นตอนคือ การสร้างความตระหนัก การวางแผน การปฏิบัติ และการนำไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ที่อยู่ในโครงการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.29/80.14 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนนี้แล้ว นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย