ผลของความสมบูรณ์ของร่างกายแพะที่เหนี่ยวนำการเป็นสัดต่ออัตราการตั้งท้องโดยการผสมเทียม และการยอมรับเทคโนโลยีการผสมเทียมของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการภาครัฐในจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ประชารัก รัตนโชเต

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.636.312 ป17ผ 2555

รายละเอียด: 

ผลของความสมบรูณ์ของร่างกายแพะที่เหนี่ยวนำการเป็นสัดต่ออัตราการตั้งท้องโดย การผสมเทียมและการยอมรับของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการภาครัฐในจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ประกอบด้วย 2 การศึกษา ดังนี้ การศึกษาที่ 1 ผลของความสมบูรณ์ของร่างกายแพะที่เหนี่ยวนำการเป็นสัดต่ออัตรา การตั้งท้องโดยการผสมเทียมจัดแพะตามคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย ประกอบด้วย แพะที่มีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายผอม (คะแนน 1-2.5) แพะที่มีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายปานกลาง (คะแนน 3-3.5) และแพะที่มีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายอ้วน (คะแนน 4.5-5) ทุกกลุ่มถูกเหนี่ยวนำการเป็นสัดโดยใช้โปรแกรมการเหนี่ยวนำคือ วันที่ 0 ฉีด PGF2α 0.5 ซีซี และใช้ฮอร์โมน Progesterone สอดเข้าช่องคลอด นาน 5 วัน และในวันที่ 5 ทำการดึงฮอร์โมน Progesterone ออกและฉีด PMSG 0.4 ซีซี เข้ากล้ามเนื้อพบว่าอิทธิพลเดือนที่เหนี่ยวนำการเป็นสัดมีผลต่อการเปิดของช่องเปิดมดลูกโดยเดือนกรกฎาคมมีค่าเฉลี่ยของการเปิดช่องมดลูก (1.21 เซนติเมตร) เดือนสิงหาคม (1.73 เซนติเมตร) และเดือนกันยายน (1.88 เซนติเมตร) ซึ่งทั้งสามเดือนมีค่าเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อิทธิพลคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายต่อการเปิดของมดลูกของแพะจากการเหนี่ยวนำการเป็นสัดพบว่าแพะที่มีร่างกายผอมมีค่าเฉลี่ยของช่องเปิดของมดลูก (1.72 เซนติเมตร) แพะที่มีร่างกายปานกลาง (1.68 เซนติเมตร) และในแพะที่มีร่างกายอ้วน (1.73 เซนติเมตร) ทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) สำหรับผลอัตราการตั้งท้องหลังการตรวจท้องด้วยอัลต้าซาวด์พบว่าในแพะที่มีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายผอมมีอัตราการตั้งท้อง 32.35% แพะที่มีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายปานกลางมีอัตราการตั้งท้อง 40.91% และในแพะที่มีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายอ้วนมีอัตราการตั้งท้อง 35.90% ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (P>0.05) การศึกษาที่ 2 ศึกษาการยอมรับของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการภาครัฐในจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล จากการศึกษาทั้งหมด 6 ด้าน อันได้แก่ 1) เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ลูกแพะที่เกิดจากการผสมเทียมตรงตามความต้องการ 2) เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การใช้แม่แพะพันธุ์พื้นเมืองเพื่อผสมพันธุ์มีความเหมาะสม 3) เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุดโดยใช้การชักนำการเป็นสัดใช้ฮอร์โมน 4) เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุดโดยใช้น้ำเชื้อที่ทำ การทดลองเป็นน้ำเชื้อแช่แข็งของแพะพันธุ์บอร์และซาแนน 5) เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุดโดยใช้ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการผสมเทียมแพะของเจ้าหน้าที่ และ 6) เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมากโดยการผสมพันธุ์แพะโดยใช้วิธีการผสมเทียมมีความเหมาะสม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์การทดลอง

บทที่5 สรุป และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย