ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ปาริสุทธิ์ พรหมรักษ์ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2551 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.371.3 ป27ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ด้านศิลปะท้องถิ่นที่มีในชุมชน และ วิเคราะห์แนวทางการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนด้านคุณค่าศิลปะท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ และรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักเรียน ปราชญ์ท้องถิ่น บุคคลทั่วไปในชุมชน ครูผู้สอนวิชาศิลปะ และผู้บริหารสถานศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลความหมายของข้อมูลแล้วสร้างมโนทัศน์ หาข้อสรุปเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และการพัฒนา ผลการวิจัย พบว่า ศิลปวิทยาด้านศิลปหัตถกรรม มีรูปความคิดที่สัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นในด้านวิธีคิด ความเชื่อและพิธีกรรม การประกอบอาชีพและเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ การละเล่นพื้นบ้าน และความผูกพันและการพึ่งพาของคนในท้องถิ่น ส่วนรูปแบบเชิงปฏิบัติการศิลปหัตถกรรม พบว่า มีรูปแบบเชิงปฏิบัติการด้านวัสดุอุปกรณ์ การปฏิบัติ ความงดงามทางศิลปะ เทคนิค และการนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนด้านคุณค่าศิลปะท้องถิ่น พบว่า มีแนวทางการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้หลายลักษณะ ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านศิลปหัตถกรรมให้กับนักเรียน การจัดระบบข้อมูลด้านศิลปหัตถกรรม การจัดให้นักเรียนได้เรียนศิลปหัตถกรรมตามความต้องการ การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านศิลปหัตถกรรม และการจัดทำนโยบายเพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ในการรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปหัตถกรรม สามารถจัดทำในรูปแบบเอกสาร สื่อนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเว็บไซด์ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นแนวทางของการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนด้านคุณค่าศิลปะท้องถิ่นอีกลักษณะหนึ่ง สำหรับการปลูกฝังให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรเริ่มต้นที่ครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานของสังคม และการดำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะท้องถิ่นไว้ โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทของสังคมปัจจุบัน |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่4 ภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะความรู้ด้านศิลปะท้องถิ่น บทที่5 แนวทางการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู็ของนักเรียนด้านคุณค่าศิลปะท้องถิ่น |
|