การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในจังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

วราภรณ์ อ่อนแก้ว

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.พ.613.2 ว17ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2) พฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้และด้านทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้และด้านทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในจังหวัดสงขลา และพฤติกรรมสุขภาพด้านทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในจังหวัดสงขลา ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีจำนวน 4 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) และหาระดับความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ แครมเมอร์ วี (Cramer,s V) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนในจังหวัดสงขลามีพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.93, S.D.=0.35) 2. ประชาชนในจังหวัดสงขลามีพฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 51.84) มีทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับถูกต้องปานกลาง ( = 3.09, S.D.=0.31) 3. อาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ส่วนเพศ ศาสนา และการรับรู้ข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แผ่นพับ โปสเตอร์ และกิจกรรมรณรงค์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ 4. เพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และการรับรู้ข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และกิจกรรมรณรงค์ มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ในส่วนของทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบว่าเพศ ศาสนา การศึกษา อาชีพ รายได้ การรับรู้ข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสื่อวิทยุ แผ่นพับ โปสเตอร์ สื่ออินเทอร์เน็ต และกิจกรรมรณรงค์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพด้านทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ 5. พฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในระดับต่ำ (r=0.348) และพฤติกรรมสุขภาพด้านทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในระดับต่ำ (r=0.233) จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในเรื่องผลิตภัณฑ์ยา และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น โดยเลือกช่องทางการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่เน้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สื่อสิ่งพิมพ์ และกิจกรรมรณรงค์ และประสานความร่วมมือไปยังงานอนามัยโรงเรียนในสถานศึกษา โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่นักเรียนและนักศึกษา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย