ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
สายทิพย์ มียิ้ม |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาหลักสูตรและการสอน โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2546 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.507.12 ส26ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสตอรี่ไลน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสงขลา จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายแบบจับฉลาก ใช้เวลาในการสอนวันละ 6 คาบ คาบละ 50 นาที เป็นเวลา 5 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนโดยใช้วิธีสตอรี่ไลน์เรื่องระบบนิเวศ และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 13 ทักษะ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ และทักษะขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ค่าทดสอบแบบที (t-test) สำหรับทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสตอรี่ไลนฺมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาตามประเภทของทักษะพบว่า ผลการทดสอบวัดทักษะขั้นพื้นฐานก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะที่มีคะแนนเพิ่มขึ้น 6 ทักาะ เรียงจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ทักษะด้านการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะด้านการจำแนกประเภท ทักษะด้านการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะด้านการใช้ตัวเลข ทักษะด้านการวัด และทักษะด้านการสังเกต และมี 2 ทกษะ ที่มีคะแนนเท่าเดิม คือ ทักษะด้านการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา และทักษะด้านการลงความเห็นจากข้อมูลและพบว่าผลการทดสอบวัดทักษะขั้นบูรณาการก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะที่มีคะแนนเพิ่มขึ้น 4 ทักษะ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ทักษะด้านการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ทักษะด้านการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ทักษะการตั้งสมมติฐานและทักษะด้านการทดลอง และมี 1 ทักษะที่มีคะแนนลดลง คื ทักษะด้านการกำหนดและควบคุมตัวแปร |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|