ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
เปรมใจ เอื้ออังกูร และคนอื่น ๆ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2547 |
|
เลขหมู่: |
ว371.11 ป57ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วางระบบติดตาม และ ประเมินผล การพัฒนาครูโรงเรียน วัดแหลมบ่อท่อในการทําวิจัยในชั้นเรียน เปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้ และ ความคิดเห็น ของครู ก่อนและหลัง การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทําวิจัยในชั้นเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนโดยเฉลี่ย หลังการใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน และศึกษาความพึงพอใจ ของครู ผู้บริหาร นักเรียนและผู้ปกครอง ต่อวิธีการสอนของครูที่ใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โดย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การกําหนดประเด็นปัญหา การ ศึกษาบริบทโรงเรียนและชุมชน การวางแผนจัดกิจกรรมการพัฒนาครู การลงมือปฏิบัติตลอดจน การวางระบบติดตามและประเมินผล ประชากรในการวิจัยคือ คณะครูและ ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานอยู่ ที่โรงเรียนวัดแหลมบ่อท่อ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 จํานวน 13 คน การรวบรวมข้อมูลใน การวิจัย ใช้วิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สําหรับเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบสํารวจ แบบทดสอบ แบบวัดเจตคติ ในเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือคือ การจัดเวทีประชาคม การ ประชุมกลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. บริบทโรงเรียนวัดแหลมบ่อท่อ มีครู 13 คน จบปริญญาโท 2 คน ปริญญาตรี 11 คน จัดการศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับอนุบาล และระดับประถมศึกษา มีนักเรียนทั้งสิ้น 243 คน ประชาชน ในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร รับจ้าง และทําประมง จุดแข็งของโรงเรียนคือ ครูมี ความสามัคคี รู้หน้าที่ตนเอง และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนดี บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ จุดอ่อน ของโรงเรียน คือ งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดครูชํานาญการบางสาขา และชุมชนเน้นวัฒนธรรม กีฬามากกว่าวิชาการ ภาวะคุกคามของโรงเรียน คือ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน ปัญหาที่ สําคัญของครูโรงเรียนวัดแหลมบ่อท่อ ในการทําการวิจัยในชั้นเรียน คือ ครูขาดความมั่นใจในความ สามารถของตนเอง และมีเจตคติต่อการทําวิจัยในระดับปานกลาง 2. ผลของการวางระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน มี 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาบริบทโรงเรียนและความต้องการของครู 2) ขั้นการพัฒนาครูให้มีความรู้การ ทําวิจัยในชั้นเรียน 3) ขั้นติดตาม มี 2 ลักษณะ คือ การนิเทศภายในโดยเพื่อนครูช่วยเหลือกันเอง และการนิเทศภายนอกจากคณะกรรมการวิจัยโดยให้คําปรึกษาแนะนําด้านความรู้เป็นระยะ ๆ อย่าง ต่อเนื่อง 4) ขั้นการประเมินผล โดยศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3. ผลการพัฒนาครูพบว่า ครูโรงเรียนวัดแหลมบ่อท่อมีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการทําวิจัยในชั้นเรียน และความสามารถด้านวิธีวิทยาการวิจัยในชั้นเรียน ก่อนและหลังการอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 แต่เจตคติของครูในการทําวิจัย ก่อนและหลังการอบรม ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่า ก่อนการอบรม มีเจตคติต่อการทําวิจัยปานกลาง หลัง การอบรม มีเจตคติที่ดีต่อการทําวิจัยในชั้นเรียน 4. ผลการติดตามตรวจเยี่ยมและนิเทศครูโรงเรียนวัดแหลมบ่อท่อ พบว่า นักเรียนทุกระดับ ชั้นมีปัญหาด้านการอ่าน นวัตกรรมที่ครูโรงเรียนวัดแหลมบ่อท่อใช้เพื่อพัฒนานักเรียนมีดังนี้ แบบ ฝึกทักษะการอ่าน มีจํานวน 8 คน แบบฝึกทักษะการคูณ เกม นิทาน และการพบปะสนทนากับ ผู้ปกครอง อย่างละ 1 คน เมื่อครูทุกคนนํานวัตกรรมไปใช้กับผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนได้สูงขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 90 5. หลังการทําวิจัยในชั้นเรียน ครู ผู้บริหาร นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อ การทําวิจัยในชั้นเรียน โดยที่ 5.1 ครูมีความพอใจ ภูมิใจต่อการทําวิจัยในชั้นเรียน และเห็นว่าการทําวิจัยในชั้นเรียน สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ ทําให้ผู้เรียนสนใจเรียนเพิ่มขึ้น 5.2 ผู้บริหารมีความพึงพอใจมาก เนื่องจากครูมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดี ขึ้น เช่น ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์มากขึ้น และเอาใจใส่เด็กมากขึ้น 5.3 นักเรียนมีความพึงพอใจในนวัตกรรมที่ครูใช้ เนื่องจากช่วยพัฒนาการอ่านของ นักเรียน แต่มีบางกลุ่มไม่ชอบนวัตกรรมที่ครูใช้ 5.4 ผู้ปกครองบางคน มีความพึงพอใจ มีการรับรู้ ร่วมมือพัฒนา และให้กําลังใจแก่ ผู้เรียน แต่บางคนไม่มีเวลาที่จะให้การดูแลช่วยเหลือ 6. ปัญหาอุปสรรคของการทํางานวิจัยในชั้นเรียน ของครูโรงเรียนวัดแหลมบ่อท่อ คือ ครู มีภาระงานมาก ขาดงบประมาณสนับสนุนการผลิตสื่อ อุปกรณ์ ขาดบุคลากรสายสนับสนุน ขาด แหล่งศึกษาค้นคว้าที่มีความพร้อมในชุมชน และขาคระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างจริงจัง |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|