การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางของโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย: งานวิจัย
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
กัลยา แม้นมินทร์ |
สำนักพิมพ์: |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ปีที่พิมพ์: |
2545 |
เลขหมู่: |
ว.378.17 ก117ก |
รายละเอียด: |
การศึกษาวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ การกําหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาสําหรับบุคลากรประจําการ ซึ่งเรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ให้สามารถเผยแพร่การใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียนตามแนวทางของโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย และพัฒนากระบวนการดําเนินงานแบบมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมและถ่ายทอดกิจกรรมการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียนของโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยให้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเขตอําเภอเมืองสงขลา
การวิจัยนี้มีวิธีดําเนินการวิจัย 6 ขั้นตอน คือ 1 การจัดตั้งทีมวิจัย 2. การทดลอง ดําเนินการเพื่อหาแนวทางการกําหนดรูปแบบ 3. การกําหนดรูปแบบที่จะเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษา 4. การตรวจสอบรูปแบบที่จะเป็นต้นแบบการจัดการศึกษา 5. การสร้างรูปแบบการจัดการศึกษา 6. การสรุปผลรูปแบบการจัดการศึกษา และกระบวนการดําเนินงานแบบมีส่วนร่วมในการออกปฏิบัติการในโรงเรียน
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา สําหรับบุคลากรประจําการที่สามารถเผยแพร่การใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียนตามแนวทางของโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยได้ คือรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการคัดเลือกรายวิชา 3 รายวิชาจากแผนการเรียน คัดเลือกทีมผู้สอนทําการสอนเป็นทีม และบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการทํากิจกรรมออกปฏิบัติการเผยแพร่การใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียน
2. กระบวนการดําเนินงานแบบมีส่วนร่วมในการให้นักศึกษาออกปฏิบัติการในโรงเรียน มีการดําเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะเตรียมการ มีการดําเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนแรก การคัดเลือกโรงเรียน มี 2 ประการ คือ เลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมเป็นศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเลือกโรงเรียนใกล้เคียง ที่ผู้บริหารสมัครใจเข้าร่วมโครงการเป็นโรงเรียนเครือข่าย แต่ละศูนย์ปฏิบัติการจะมีโรงเรียน เครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม 4-5 โรงเรียน พร้อมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน
ขั้นตอนที่ 2 สํารวจความต้องการของโรงเรียน
ขั้นตอนที่ 3 คัดเลือกรายวิชา 3 รายวิชา สร้างองค์ความรู้ให้นักศึกษาตามความต้องการของโรงเรียน โดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนทั้ง 3 รายวิชา และเตรียมนักศึกษา ออกปฏิบัติการในโรงเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 10-15 คน โดยกระจายนักศึกษาที่มีทักษะเด่นตาม ความต้องการของโรงเรียนให้อยู่ในทุกกลุ่ม -
ขั้นตอนที่ 4 จัดเตรียมงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์
ระยะดําเนินการ มีการดําเนินการ 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ส่งนักศึกษาที่มีความสามารถตรงกับความต้องการของโรงเรียนออกปฏิบัติการในโรงเรียนที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
ขั้นตอนที่ 2 ส่งนักศึกษาออกติดตามผลรายโรงเรียน โรงเรียนละ 2-3 คน อย่างน้อย 2 ครั้ง หลังสิ้นสุดการปฏิบัติการในโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคให้แต่ละโรงเรียน
ระยะหลังดําเนินการ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการออกปฏิบัติการในโรงเรียนมี ส่วนร่วมในการประเมินกระบวนการดําเนินงาน เพื่อตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงและรับฟัง ข้อเสนอแนะสําหรับดําเนินการครั้งต่อไป โดยใช้วิธีสนทนากลุ่มย่อยในกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้สอน และกลุ่มครู และใช้กระบวนการ A-I-C ในกลุ่มนักศึกษา
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ส่วนหน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการดำเนินการวิจัย
บทที่ 5 บทสรุปผลและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้วิจัย
|
|
|