การศึกษาสภาพธุรกิจและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้การสื่อสารการตลาดของธุรกิจขนาดย่อมในเขตภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ สงขลา พัทลุง สตูล ตรัง ยะลา นราธิวาส ปัตตานี: รายงานวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มีพร หาญชัยสุขสกุล

สำนักพิมพ์: 

คณะวิทยาการจัดการ

ปีที่พิมพ์: 

2545

เลขหมู่: 

ว.658.835 ม36ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมใน เขตจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ตรัง ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ในประเด็นที่เกี่ยวกับประเภทธุรกิจขนาดย่อม ลักษณะผู้ประกอบการ การนำการจัดการเข้าไปใช้ในธุรกิจขนาดย่อม (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมในเขตภาคใต้ตอนล่าง (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาของผู้ประกอบการ กับการส่งเสริมการตลาด ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของ ธุรกิจกับการส่งเสริมการตลาด ความสัมพันธ์ระหว่างเงินทุนจดทะเบียนกับการส่งเสริมการตลาด ประชากรในการวิจัยได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมในเขตภาคใต้ตอนล่าง ซึ่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2539 โดยมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของประเภทธุรกิจซึ่งประกอบด้วย การผลิต ก่อสร้าง ขายปลีกขายส่ง ภัตตาคาร และโรมแรม บริการการเงิน บริการชุมชน จำนวน 565 ตัวอย่าง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Chi - Square ผลการวิจัย พบว่า ธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขายส่งขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26 - 35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส นับถือ ศาสนาพุทธ มีตําแหน่งเป็นผู้จัดการ เคยประกอบอาชีพรับจ้างมาก่อน และมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง เป็นผู้มีลักษณะของผู้ประกอบการ 13 ประการ อยู่ในระดับมาก ธุรกิจส่วนใหญ่ก่อตั้งโดยตนเอง เนื่องจากเห็นโอกาสก้าวหน้าทางธุรกิจ โดยมีรูปแบบ ของกิจการเป็นแบบห้างหุ้นส่วน ซึ่งบริหารโดยตนเองและหุ้นส่วน ระยะเวลาในการดำเนินงานมาก กว่า 5 ปี เงินทุนจดทะเบียน 500,000 2,000,000 บาท มีพนักงานน้อยกว่า 10 คน ด้านการจัดการส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมีการกำหนดเป้าหมายด้านความมั่นคงของธุรกิจ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในระดับมาก คือ คุณภาพของพนักงาน ปริมาณของเงินทุน ต้นทุน คู่แข่งขัน การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี นโยบายของรัฐบาล ปัญหาด้านแรงงานของธุรกิจ คือ พนักงานขาดความรับผิดชอบ วิธีการจูงใจของพนักงานคือการจ่ายโบนัส แหล่งในการจัดหาพนักงานมาจากพนักงานในองค์การแนะนำ ภูมิลำเนาของพนักงานส่วนใหญ่คือภาคใต้ เลือกพนักงานโดยการทดลองให้ปฏิบัติงาน ธุรกิจมีการอบรมพนักงานในเรื่องการตลาด มีการให้สวัสดิการเป็นค่ารักษาพยายาลมีการประเมินผลการทำงานของพนักงานโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ด้านการผลิตส่วนใหญ่ผลิตเอง ปัจจัยที่สำคัญต่อการผลิตในระดับมากคือ วัตถุดิบ แรงงาน เทคนิคการผลิต การลดเวลาในการผลิต ปัญหาที่พบในการผลิต คือปัญหาวัตถุดิบ ด้านการตลาด ส่วนใหญ่ ตั้งราคาผลิตภัณฑ์โดยเน้นต้นทุน มีการรับชำระเงินจากลูกค้า เป็นเงินสด วิธีการส่งเสริมการตลาดส่วนใหญ่ใช้การขายโดยบุคคล รองลงมาคือการใช้การโฆษณา และอันดับสามใช้การส่งเสริมการขาย ปัญหาด้านการตลาดคือมีธุรกิจประเภทเดียวกันในพื้นที่เดียวกัน ด้านการเงิน ส่วนใหญ่ใช้ทุนส่วนตัวเมื่อเริ่มกิจการ ธุรกิจมีการขายเชื่อ การให้สินเชื่อ พิจารณาจากค้าขายกันมานาน ระยะเวลาการให้สินเชื่อ 16 - 30 วัน ไม่มีนโยบายการให้ส่วนลด เมื่อมีการชำระหนี้ก่อนกำหนด มีการรับสินค้าคงเหลือ ปัญหาด้านการเงินคือ ไม่สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ ด้านการบัญชี ส่วนใหญ่มีการจัดทําบัญชีโดยการจ้างสํานักงานบัญชี เป็นผู้จัดทํา วิธีการจัดทําส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ มีการจัดทํางบการเงินในส่วนของงบกําไรขาดทุน มีการนําข้อมูล ทางบัญชีไปใช้ประโยชน์ในการประเมินภาษี ปัญหาด้านการบัญชีคือการขาดพนักงานบัญชีที่มีประสิทธิภาพ ประเภทของธุรกิจมีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการตลาด โดยการโฆษณา การส่งเสริม การขาย และการขายโดยบุคคล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเงินทุนจดทะเบียนมี ความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการตลาดโดยการโฆษณา การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 ความสำคัญของปัญหา

บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก