การศึกษาและวิเคราะห์คุณค่าอาหารของสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนในและตอนนอก

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุรภีร์ วีรวานิช, จารุวรรร สุจริต, สนิท อุโพธิ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2542

เลขหมู่: 

ว.579.8 ส47ก

รายละเอียด: 

จุดมุ่งหมายในการวิจัย เรื่อง การศึกษาและการวิเคราะห์คุณค่าอาหารของสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนในและตอนนอก เพื่อศึกษาด้านสัณฐานวิทยา และสภาพทางนิเวศวิทยาบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผมนาง บริเวณตําบลควนเนียง ตําบลเกาะยอ ตําบลสทิงหม้อ และตําบลหัวเขา และเพื่อเปรียบเทียบปริมาณของสารอาหารในสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร ที่ต่างนิเวศและ ต่างระยะเวลาระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2542 โดยเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์คุณค่าอาหารด้านไขมัน โปรตีน เส้นใย ความชื้น เถ้า วิตามินเอ ไอโอดีน และแป้ง ทดสอบและวิเคราะห์โดย HPLC , ISE และ AOAC (1990) นําข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสุ่ม โดยสมบูรณ์ (completely randomized design : CRD) เปรียบเทียบความแปรปรวนพหุคูณ (multiple comparision) และนําคุณค่าที่วิเคราะห์ได้จากแต่ละพื้นที่และช่วงระยะเวลามาหาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติตามวิธีของเปียสัน (Pearson's correlation) ทําให้ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient of correlation) ซึ่งนํามาแปลผลต่อไป ผลการศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณค่าอาหารของสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร บริเวณตําบลควนเนียง ทะเลสาบสงขลาตอนใน ไม่มีสาหร่ายผมนางตลอดปี ส่วนบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก ทั้ง 3 ตําบล คือ ตําบลเกาะยอ ตําบลสทิงหม้อ และตําบล หัวเขา จําแนกตามช่วงระยะเวลาตลอดปี ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 แต่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณค่าอาหารเป็นรายคู่ในการทดสอบความแตกต่างของคุณค่าอาหาร จําแนกตามช่วงระยะเวลาตลอดปี ปรากฏผลดังนี้ ตําบลเกาะยอกับตําบลสทิงหม้อ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ของสารจําพวกโปรตีน และเส้นใย ตําบลเกาะยอกับตําบลหัวเขา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ของ สารจําพวกโปรตีน และเส้นใย ตําบลสทิงหม้อกับตําบลหัวเขา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ของ สารจําพวกโปรตีน เส้นใย และเถ้า การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพสันธ์ของคุณค่าอาหารกับสภาพแวดล้อม จําแนกตามตําบล ปรากฏผลดังนี้ ปริมาณไขมันจะแปรผันตรงกับความเป็นกรด - เบสของน้ํา นั่นคือ เมื่อน้ำมีความเป็นกรด - เบสเพิ่มขึ้น ปริมาณไขมันจะเพิ่มขึ้นตาม ปริมาณโปรตีนจะแปรผกผันกับความลึกของน้ำ นั่นคือ เมื่อน้ำมีความลึกมากขึ้น ปริมาณโปรตีนจะลดลง ปริมาณเส้นใยจะแปรผันตรงกับความขุ่นของน้ำ แต่จะแปรผกผันกับความลึกของน้ำ นั่นคือ เมื่อน้ำขุ่นเพิ่มขึ้น ปริมาณเส้นใยก็เพิ่มมากขึ้น แต่จะลดลงเมื่อความลึกของน้ําเพิ่ม ปริมาณความชื้นจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิของน้ำ เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณความชื้นภายในเซลล์จะเพิ่มขึ้นตาม ปริมาณเถ้าจะแปรผกผันกับความเป็นกรด - เบสของน้ำ เมื่อน้ำมีความเป็นกรด - เบสลดลง ปริมาณเก้าจะเพิ่มขึ้น ปริมาณวิตามินเอจะแปรผันตรงกับปริมาณไนเตรท เมื่อน้ำมีปริมาณไนเตรทเพิ่มขึ้น ปริมาณวิตามินเอจะเพิ่มขึ้นตาม ปริมาณไอโอดีนจะแปรผันตรงกับความโปร่งใสและความเค็ม เมื่อน้ำมีความ ปร่งใสและความเค็มเพิ่มขึ้น ปริมาณของไอโอดีนจะเพิ่มขึ้นตาม ปริมาณแป้ง ไม่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคุณค่าอาหารกับสภาพแวดล้อม จําแนกตาม ช่วงระยะเวลา ปรากฏผลดังนี้ ปริมาณเส้นใยจะแปรผันตรงกับความขุ่น แต่แปรผกผันกับอุณหภูมิ ความโปร่งใส ความเค็ม และออกซิเจนละลายในน้ำ นั่นคือ เมื่อน้ำมีความขุ่นเพิ่มขึ้น ปริมาณเส้นใยจะเพิ่ม ตาม ในขณะที่อุณหภูมิ ความโปร่งใส ความเค็ม และออกซิเจนละลายในน้ำลดลง ปริมาณความชื้นจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ ความโปร่งใส ความเค็ม และ ออกซิเจนละลายในน้ำ แต่แปรผกผันกับความขุ่น นั่นคือ เมื่อน้ํามีอุณหภูมิสูงขึ้น ความโปร่งใส ความเค็ม และออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มขึ้น ปริมาณความชื้นในสาหร่ายจะเพิ่มขึ้นตาม แต่ ความขุ่นของน้ำจะลดลง ปริมาณเถ้าจะแปรผกผันกับความเป็นกรด - เบสของน้ำ นั่นคือ เมื่อน้ำมีความเป็น กรด – เบสเพิ่มขึ้น ปริมาณเถ้าจะลดลง ปริมาณวิตามินเอจะแปรผันตรงกับปริมาณไนเตรท นั่นคือ เมื่อน้ำมีปริมาณ ไนเตรทเพิ่มขึ้น ปริมาณวิตามินเอจะเพิ่มขึ้นตาม ปริมาณไอโอดีนจะแปรผันตรงกับความลึกของน้ำ นั่นคือ เมื่อน้ํามีระดับความลึก เพิ่มขึ้น ปริมาณของไอโอดีนจะเพิ่มขึ้นตาม ส่วนปริมาณไขมัน โปรตีน และแป้ง ไม่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางสถิติที่ ระดับ 0.05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง