รายงานการวิจัยโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต การพัฒนาศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สมบูรณ์ คงกับพันธ์ และคณะ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2547

เลขหมู่: 

ว.025.7593 ค87

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นห้องสมุดมีชีวิต มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาข้อมูลสภาพปัญหาการบริหารจัดการ การให้บริการ และความพึงพอใจในการใช้บริการ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศูนย์วิทยบริการให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตตามความต้องการของผู้ใช้บริการ และเพื่อประเมินผลการดําเนินงาน และความพึงพอใจต่อการพัฒนาศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตตามความต้องการของผู้ใช้บริการ การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาทั้งภาคปกติและภาค กศ.บป. อาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสนทนากลุ่มย่อยและการตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการ การให้บริการ พบว่า เป็นปัญหาด้านบุคลากรมีบุคลิกภาพและปฏิบัติงานไม่เหมาะสมกับหน้าที่การให้บริการ ทรัพยากร สารสนเทศมีหนังสือและวารสารภาษาอังกฤษน้อย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย หนังสือไม่มีในชั้นตามข้อมูลที่ค้นได้จากบัตรรายการ ด้านสถานที่มีโต๊ะ เก้าอี้สําหรับอ่านวารสารและ หนังสือพิมพ์ไม่เพียงพอเช่นกัน การจัดวางยังไม่เหมาะสม บรรยากาศไม่จูงใจให้เข้าใช้บริการ การ ประชาสัมพันธ์ไม่เด่นชัดและไม่ทั่วถึง ผลการศึกษาด้านความพึงพอใจ พบว่าผู้ใช้บริการพึงพอใจในด้านการสืบค้นข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดบริการยืม-คืนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ด้านการรักษา ความปลอดภัยของทรัพย์สินมีโทรทัศน์วงจรปิด การบริการสื่อโสตทัศนวัสดุมีความทันสมัย สถานที่มี ความสะอาดและมีการสร้างบรรยากาศดี ส่วนการศึกษาแนวทางในการพัฒนาศูนย์วิทยบริการให้เป็น ห้องสมุดมีชีวิตตามความต้องการของผู้ใช้บริการ พบว่า ห้องสมุดมีชีวิตจะต้องมีสื่อการศึกษา หลากหลายรูปแบบและมีเนื้อหาสาระที่หลากหลายสาขาวิชาด้วย บุคลากรจะต้องเพียงพอ เป็นผู้ที่ บุคลิกภาพเหมาะสม มีจิตบริการและบริการด้วยความรวดเร็ว การบริหารจัดการจะต้องมีระบบการ บริการที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และมีกิจกรรมหลากหลาย มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งการจัด สถานที่ บรรยากาศให้น่าเข้าใช้บริการ มีพื้นที่สีเขียว (ต้นไม้) มีมุมผ่อนคลายและมุมเครื่องดื่ม ผลจาก การศึกษาครั้งนี้ ศูนย์วิทยบริการจึงได้พัฒนาสู่การปฏิบัติเพื่อให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตดังนี้คือ ด้านบุคลากร มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของบุคลากร และกําหนดให้บริการอย่างมี ประสิทธิภาพ ด้านการบริหารจัดการ มีการจัดมุมกาแฟ จัดทําเอกสารประชาสัมพันธ์ออกพิมพ์เผยแพร่ เดือนละ 2 ครั้ง และจัดนิทรรศการหนังสือใหม่ทุกสัปดาห์ ด้านสื่อการศึกษาได้เปิดโอกาสให้ ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการจัดหาสื่อการศึกษา ส่วนด้านสถานที่ได้จัดมุมสบายให้มีต้นไม้และ บรรยากาศเหมือนบ้าน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง