การวิจัยและพัฒนาโรงเรียนห่างไกลในเกาะแก่งและแหล่งทุรกันดาร : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเกาะอาดัง จังหวัดสตูล

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สมสวาท เจริญฤทธิ์, เพียงใจ ผลโภค และพวงเล็ก วรกุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.371.03 ส16ก

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนของโรงเรียนห่างไกลใน เกาะแก่งและแหล่งทุรกันดาร โรงเรียนบ้านเกาะอาดัง 2) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของ โรงเรียนบ้านเกาะอาดัง 3) เพื่อพัฒนาโรงเรียนบ้านเกาะอาดังให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของชุมชน การวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงสํารวจด้วยกระบวนการวิจัย ปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม เทคนิควิธีและเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การศึกษา สังเกตสภาพจริง การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และเทคนิควิธีประชุมกลุ่ม ( ผลการดําเนินการวิจัย พบว่า โรงเรียนบ้านเกาะอาดัง ตั้งอยู่บนเกาะหลีเป๊ะ เป็นเกาะเล็ก กลางทะเลอันดามัน ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลตะรุเตาห่างจากเมืองสตูล ประมาณ 90 กิโลเมตร ประชากรในปี พ.ศ. 2546 มีทั้งสิ้น 155 ครัวเรือน จํานวน 382 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ย ที่มีภาษาชาวเลของตนเอง และมีวิถีชีวิตชาวเลที่เป็นอัตลักษณ์ มีความรัก ผูกพัน กับถิ่นฐานและท้องทะเล ชาวเลรุ่นใหม่ในกลุ่มอายุไม่เกิน 40 ปี สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ เพราะมีโอกาสศึกษาจากโรงเรียน ที่มีการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 ปัจจุบันมีการศึกษาตั้งแต่ ระดับชั้นอนุบาล จนถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการสํารวจกลุ่มตัวอย่างพบว่าร้อยละ 38.71 ต้องการให้บุตรหลานศึกษาถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และร้อยละ 43.25 ศึกษาถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยต่างให้เหตุผลว่าเป็นการศึกษาที่เพียงพอสําหรับการประกอบอาชีพและคําเนินชีวิตบนเกาะแล้ว และมีความต้องการให้โรงเรียนมีความพร้อม เหมือนโรงเรียนบนฝั่ง - ด้านการจัดการศึกษาด้วยการวิเคราะห์พบว่าโรงเรียนมีข้อเด่นในประเด็น ตั้งอยู่บนเกาะที่มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่สมบูรณ์ งดงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ทําให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งมีรายได้ในฤดูกาลท่องเที่ยว เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน มีวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยที่มีคุณค่า ส่วนด้านปัญหาอุปสรรคและข้อด้อยใน การจัดการศึกษาของโรงเรียนมีหลายประการ เช่น ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ได้รับ การศึกษาน้อยมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับน้อยมาก สภาพทางภูมิศาสตร์ทําให้มีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารคมนาคมกับภายนอกขาดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ชุมชนไม่มีบริการ ไฟฟ้าและน้ำ มีปัญหาด้านบุคลากร ขาดแคลนครูบางสาขา ครูขาดโอกาสในการรับรู้ ความเคลื่อนไหวทางวิชาการ ครูทุกคนมาจากนอกพื้นที่ไม่มีความรู้ภาษาชาวเล มีปัญหาด้านสวัสดิการและการบํารุงขวัญบุคลากร งบประมาณไม่เพียงพอจากผลการวิเคราะห์ดังกล่าว คณะผู้วิจัยและคณะครู ได้ร่วมวางแผนและพัฒนาโรงเรียนใน 5 กิจกรรมหลักคือ 1)การปรับแผนกลยุทธ์และหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนโดยจัดค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) การศึกษารวบรวมภาษาชาวเล และจัดทําเอกสารประกอบการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาชาวเล เพื่อการท่องเที่ยว 5) การจัดหาและติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - ผลการดําเนินการครั้งนี้ส่งผลให้คณะครูมีการตื่นตัวเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาโรงเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนและเห็นประโยชน์จากการ ศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาโรงเรียน นักเรียน และชุมชน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง