เปรียบเทียบ ค่าสหสัมพันธ์ ระดับ และคุณลักษณะทางจริยธรรมของนักศึกษาในกลุ่มสหวิทยาลัยทักษิณ

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ลำดวน เกษตรสุนทร

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2534

เลขหมู่: 

ว.174.937 ล215ร

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะทางจริยธรรม 5 ประการ เพื่อหา ความสัมพันธ์และเพื่อหาระดับคุณลักษณะทางจริยธรรม ซึ่งมี 4 ระดับคือ 1. ระดับด้อยหรือขาด คุณลักษณะทางจริยธรรม 2. ระดับมีจริยธรรมเพื่อประโยชน์ของตนเอง 3. ระดับมีจริยธรรมเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็ก ๆ 4. ระดับมีจริยธรรมเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมของนักศึกษาในกลุ่มสหวิทยาลัยทักษิณ โดยแยกศึกษาตาม สถาบัน เพศ สาขาวิชา ระดับการศึกษาการอบรมเลี้ยงดู และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ราๆ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาจํานวน 50 คน ในปีการศึกษา 2530 จากกลุ่มสหวิทยาลัยทักษิณ 5 สถาบันคือ วิทยาลัยครูสงขลา วิทยาลัยครูยะลา วิทยาลัยครูภูเก็ต วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสํารวจทัศนคติทางจริยธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ แบบสํารวจนี้ใช้สํารวจทัศนคติทางจริยธรรม 5 ด้าน คือ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียรและความเสียสละ มีคําถามด้านละ 6 ข้อ รวม 30 ข้อ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.636 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติคํานวณ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. นักศึกษาแต่ละสถาบันมีคุณลักษณะทางจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ส่วนผลการศึกษาระดับจริยธรรมพบว่านักศึกษาใน 3 สถาบัน คือ สงขลา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช มีจริยธรรมอยู่ในระดับที่ 3 คือ มีเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็ก ๆ เฉพาะวิทยาลัยครูยะลามีจริยธรรมอยู่ในระดับที่ 2 คือมีจริยธรรมเพื่อประโยชน์ของตนเอง และ วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานีมีจริยธรรมอยู่ในระดับที่ 4 คือ มีเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมสําหรับ ผลการศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางจริยธรรมพบว่า นักศึกษาใน 3 สถาบันคือ วิทยาลัยครูสงขลา วิทยาลัยครูภูเก็ต และวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี มีจริยธรรมสัมพันธ์กันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 นอกจากวิทยาลัยครูยะลาและวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน 2. นักศึกษาเพศหญิง เพศชาย มีคุณลักษณะทางจริยธรรมทั้ง 5 ประการไม่แตกต่างกัน สําหรับผลการศึกษาระดับจริยธรรมพบว่า นักศึกษาเพศหญิงและเพศชายมีจริยธรรมอยู่ในระดับที่ 3 คือมีเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็ก ๆ ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทาง จริยธรรมพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาและสาขาวิชาการอื่น มีจริยธรรมไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ระดับจริยธรรมพบว่าอยู่ในระดับที่ 3 มีจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็ก ๆ ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางจริยธรรมพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีจริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร และความเสียสละสูงกว่าระดับอนุปริญญาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ส่วนคุณลักษณะทางจริยธรรมด้านความรับผิดชอบไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบ คุณลักษณะทางจริยธรรมทั้ง 5 ประการแล้ว นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีจริยธรรมทุกด้านสูงกว่า นักศึกษาระดับอนุปริญญาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์ระดับคุณลักษณะ ทางจริยธรรมพบว่า อยู่ในระดับที่ 3 มีจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็ก ๆ ส่วน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางจริยธรรมพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 05 5. นักศึกษาที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกัน จะมีคุณลักษณะทางจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์ระดับคุณลักษณะทางจริยธรรมพบว่าอยู่ในระดับที่ 3 มีจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็ก ๆ ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางจริยธรรมพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันนอกจากการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันมีคุณลักษณะทางจริยธรรมไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะทางจริยธรรมนบว่าอยู่ในระดับที่ 3 มีจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็ก ๆ ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางจริยธรรมพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก