องค์ประกอบบางประการที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครูของบุคลากรทางการศึกษาและครูประจำการ ระดับปริญญาตรี (ค.บ.) ในเขตความรับผิดชอบของวิทยาลัยครูสงขลา
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
สายชล มีทรัพย์ |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยศิลปากร |
ปีที่พิมพ์: |
2526 |
เลขหมู่: |
ว.371.26072 ส26อ |
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านส่วนตัว ด้านการเรียนและด้านเศรษฐกิจ ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการศึกษาและครูประจําการระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูลงขลา จํานวน ๔๒๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบสมรรถภาพครูของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ แบบสอบถามเรื่องการปรับตัวของ พูนทรัพย์ วงษ์พานิช สาขาแนะแนวมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสําเร็จรูป spss ( Statistical Package for the Social Sciences ) โดยวิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นชั้นๆ ( Stepwise Multiple Regression Analysis ) ผลปรากฏว่า วิชาเอกนาฏศิลป์ สถานที่เรียนศูนย์ จังหวัดสตูล วุฒิป.กศ. สูง และสมรรถภาพครู มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครู อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ ๐.๐๑ เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทํางาน วิชาเอกประถมศึกษา สถานที่เรียนศูนย์จังหวัดพัทลุง ครูบริหารและวุฒิพ. ม. หรือป.ม. มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาชีพครูอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ ๐.๐๑ วิชาเอกสังคมศึกษาและครูปฏิบัติการสอนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครูอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับนัยสําคัญ ๐.๐๕ และการปรับตัวกับอาจารย์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครูอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ ๐.๐๕ แต่องค์ประกอบค้านสถานภาพสมรส จํานวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู ระยะเวลาที่จบการเรียนครั้งสุดท้ายก่อนเข้ามาเรียนในวิทยาลัยครูสงขลา เวลาที่ใช้ในการเดินทางมาเรียน รายได้ของครอบครัว และรายจ่ายเพื่อการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีพครู
องค์ประกอบที่อธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครูได้ ได้แกวิชาเอกการประถม ศึกษา สมรรถภาพครู สถานที่เรียนศูนย์จังหวัดสตูล เพศ ครูปฏิบัติการสอนสถานที่เรียน วิทยาลัยครูสงขลา และวิชาเอกสังคมศึกษา โดยองค์ประกอบเหล่านี้สามารถพยากรณ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครู ได้ร้อยละ ๓๙.๘๘ ได้สมการพยากรณในรูปคะแนน มาตรฐาน
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ส่วนหน้า
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้แต่ง
|
|
|