งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทและความต้องการของชุมชน เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาประชาบาล ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ในด้านบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การบริหารวิชาการ การบริหารบุคลากร กิจการนักเรียน ธุรการ การเงินและบริการ และเปรียบเทียบบทบาทและความต้องการของสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาตําบล กรรมการศึกษาและประชาชน
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ สมาชิกสภาจังหวัด ๑๖ คน สมาชิกสภาตําบล ๕๙ คน กรรมการศึกษา ๗๖ คน และ ประชาชนทั่วไป ๑๒๕ คน รวม ๒๗๕ คน
การรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นกามกลุ่มตัวอย่าง เพื่อทราบบทบาทและความต้องการเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาประชาบาลทั้ง ๕ ด้าน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการครูใหญ่ที่คนในท้องถิ่นนับถือ มีมนุษย์ สัมพันธ์และมีความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ ต้องการให้ครูได้รับการอบรมเกี่ยวกับวิธีสอนใหม่ๆ ครูที่จะได้รับการบรรจุใหม่ควรเป็นบุคคลในท้องถิ่น และมีความปราถนาที่จะช่วยเหลือครูให้ได้รับความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย สําหรับสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างไม่พึงประสงค์ คือ การสอนนักเรียนด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว การเลือกกรรมการศึกษาโดยไม่ขอความคิดเห็นจากประชาชน การนําเด็กและประชาชนไปทัศนศึกษาในวันหยุดราชการ การหาโทษนักเรียนโดยการเฆี่ยนตีและต้องเสียเงินมาบำรุงการศึกษาเพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบความต้องการระหว่างกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มพบว่า ประชาชนทั่วไป กรรมการศึกษา สมาชิกสภาตําบล มีบทบาทและความต้องการไม่แตกต่างกัน และกลุ่มสมาชิกสภาตําบลกับกลุ่มสมาชิกสภาจังหวัด ก็มีบทบาทและความต้องการ ไม่แตกต่างกัน แต่สําหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มสมาชิกสภาจังหวัดมีบทบาทและความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และระหว่างกลุ่มกรรมการศึกษากับกลุ่มสมาชิกสภาจังหวัดก็มีบทบาทและความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ เช่นเดียวกัน
|