เจตคติที่มีต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ยินดี สวนะคุณานนท์

สำนักพิมพ์: 

วิทยาลัยครูสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2535

เลขหมู่: 

372.3 ย35จ

รายละเอียด: 

จุดประสงค์ของการวิจัย จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษาประจําการ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ด้านการศึกษารายวิชาเนื้อหาวิทยาศาสตร์ และรายวิชาวิธีสอนวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ที่มีต่อเจตคติเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษาประจําการ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ เช่น เพศ ระดับชั้นที่สอน ประสบการณ์ด้านการสอน และพื้นฐานการศึกษาเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีต่อเจตคติเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษาประจําการ วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของครูประถมศึกษาประจําการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูประจําการที่กําลังศึกษาตามโครงการการศึกษาบุคลากรประจําการ วิชาเอกการประถมศึกษา ปีการศึกษา 2534 ณ วิทยาลัยครสงขลา จํานวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสํารวจเจตคติที่มีต่อการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งแปล และดัดแปลงมาจาก The Revised Science Attitude Scale สร้างโดย Thompson และ Shrisley (1986) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการทางสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS/Pc ผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) คะแนนเฉลี่ยของเจตคติที่มีต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษาประจําการ จํานวน 131 คน มีค่า 69.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปานกลาง (เกณฑ์ปานกลางเท่ากับ 60) 2) ครูประถมศึกษาประจําการที่สอนในระดับชั้นที่สูงกว่ามีคะแนนเฉลี่ยของเจตคติที่มีต่อการสอนวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้ที่สอนระดับชั้นต่ํากว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 กล่าวคือ ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 75.69 ครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 71.91 ส่วนครูทีสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 66.81 3) ครูประถมศึกษาประจําการที่มีประสบการณ์ด้านการสอนต่างกัน มีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการสอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 69.63 ผู้มีประสบการณ์การสอนระหว่าง 7-9 ปี มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 89.35 ผู้มีประสบการณ์การสอนระหว่าง 4-6 ปี มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 65.63 ส่วนผู้มีประสบการณ์การสอนต่ำสุด คือตั้งแต่ 3 ปีลงมา มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 69.72 4) ครูประถมศึกษาประจําการที่มีประสบการณ์ด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากกว่า มีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ดังกล่าวมาน้อยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ผู้ที่ผ่านการเรียนรายวิชาเคมี ชีวะ และ ฟิสิกส์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมาแล้วมีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 72.00 ส่วนผู้ที่เรียนวิทยาศาสตร์กายภาพมาแล้ว มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 68. 40 สําหรับผู้ไม่เรียนวิทยาศาสตร์เลยมีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 63.42 5) ครูประถมศึกษาประจําการที่มีประสบการณ์ด้านการเรียนรายวิชาเนื้อหาวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษามาแล้ว มีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ดังกล่าวอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ มีคะแนนเจตคติเฉลี่ย 69.52 และ 68.69 ตามลําดับ 6) ครูประถมศึกษาประจําการที่มีประสบการณ์ด้านการเรียนรายวิชาวิธีสอนวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษามาแล้ว มีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้ที่ไม่ มีประสบการณ์ดังกล่าวอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ มีคะแนนเจตคติ เฉลี่ย 70.51 และ 68.45 ตามลําดับ สรุป จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติ สรุปได้ว่า โดยภาพรวม ครูประถมศึกษาประจําการมีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติ 2) ประสบการณ์ ด้านการเรียนรายวิชาเนื้อหาวิทยาศาสตร์ และรายวิชาวิธีสอนในระดับอุดมศึกษา ไม่มีผลต่อเจตคติที่มีต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษาประจําการ 3) ครู ผู้สอนในระดับชั้นที่สูงกว่าจะมีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์มากกว่าครูผู้สอนในระดับชั้นที่ต่ำกว่า 4) ครูผู้มีประสบการณ์ด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายมากกว่าจะมีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์มากกว่าครูที่มีประสบการณ์ดังกล่าวน้อยกว่า หรือไม่มีประสบการณ์เลย 5) สําหรับประสบการณ์ด้านการสอนของครูประถม ศึกษา ไม่มีผลต่อเจตคติที่มีต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของครูแต่อย่างใด

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง