ค่านิยมและพฤติกรรมทางสังคมที่เบี่ยงเบนของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมในจังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทัศนีย์ ประธาณ, เปรมใจ เอื้ออังกูร, ยุพดี ธรรมชาติ, รำไพทิพย์ ธีรนิติ, วารุณี วงศ์วิเชียร, วิชัย บุญชูดวง

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2539

เลขหมู่: 

ว.155.5 ค25

รายละเอียด: 

การวิจัยค่านิยม และพฤติกรรมทางสังคมที่เบี่ยงเบนของเด็กและเยาวชนที่ เป็นปัญหาทางสังคมในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงสํารวจโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาค่านิยม ระดับค่านิยม และพฤติกรรมทางสังคมที่เบี่ยงเบนของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมในจังหวัดสงขลา 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับค่านิยม พฤติกรรมทางสังคมที่เบียงเบนของเพื่อนสนิท และลักษณะของกลุ่มเด็กและเยาวชน 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ค่านิยมของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมในจังหวัดสงขลา 4. เพื่อศึกษาปัจจัยที่จําแนกเด็กและเยาวชนกลุ่มที่เป็นปัญหาทางสังคมและไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษา เด็กและเยาวชนกลุ่มที่เป็นปัญหาทางสังคม และศึกษาในสถานศึกษา เด็กและเยาวชนปกติที่ศึกษาในสถานศึกษา 5.เพื่อศึกษาปัจจัยที่จำแนกเด็กและเยาวชนกลุ่มที่เป็นปัญหาทางสังคมและ ไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษา เด็กและเยาวชนกลุ่มที่เป็นปัญหาทางสังคม และศึกษาในสถานศึกษา เด็กและเยาวชนมกดีที่ศึกษาในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างจํานวนทั้งสิ้น 955 ตน เป็นเด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลา และบุคคลผู้ใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมจํานวน 18 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือแบบสอบถามวัดค่านิยม และการอบรมเลี้ยงดูของเด็กและเยาวชน และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมทางสังคมที่เบี่ยงเบนของเด็กและเยาวชน ผู้วิจัยได้ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ลักษณะ คือ กลุ่มตัวอย่างที่สามารถอ่านหนังสือได้ให้ตอบ แบบสอบถามภายใต้การชี้แจงของผู้วิจัยแผะผู้ช่วยผู้วิจย ส่วนเด็กและเยาวชนที่อ่านยังไม่ได้ บุคคลใกล้ชิดเด็กและเยาวชน ผู้วิจัยจะดำเนินสัมภาษณ์ และวิเคราะข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย x3-test t-test f-test การวิเคราะห์การกดถอยพหพุ (Multiple Regression Anslysis) และการวิเคราะห์จำแนก (Discriminant Analysis) การวิจัยครั้งนี้สรุผล ได้ดังนี้ 1. เด็กและเยาวชนทั้งสามกลุ่มมีค่านิยมทั้งสี่ด้านได้แก่ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ การเคารพผู้อาวุโส และการประหยัดในระดับปานกลาง โดยมีค่านิยมด้านการเคารพผู้อาวุโสและการประหยัดสูงกว่าค่านิยมอีกสองด้าน เด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษา มีค่านิยมด้านความรับผิดชอบและ ความซื่อสัตย์สูงกว่าอีกสองกลุ่ม เด็กและเยาวชน กติมีค่านิยมด้านการเคารพผู้อาวุโสใสและการประหยัดสูงกว่าอีกสองกลุ่ม 2.เด็กและเยาวชนทั้งสามกลุ่มส่วนใหญ่มีระดับค่นิยมด้านคสามรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ในระดับยังไม่เกิดค่านิยม เด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อย ละ 44 มีค่านิยมด้านการเคารพผู้อาวุโสในระดับสูง นอกจากนี้เด็กและเยาวชนกลุ่มที่เป็นปัญหาทางสังคมจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 มีค่านิยมด้านการประหยัดในระดับยังไม่เกิดค่านิยม ส่วนเด็กและเยาวชนปกติมีค่านิยมด้านการประหยัดในระดับยังไม่เกิดค่านิยม และในระดับที่มีค่านิยมสูงมีจํานวนใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษา มีร้อยละของ จํานวนเพื่อนที่มีพฤติกรรมทางสังคมที่เบี่ยงเบนสูงกว่า เด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและศึกษาในสกานศึกษา และเด็กและเยาวชนปกติ พฤติกรรมที่พบมากในเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคม ได้แก่ การสนบุหรี่ ดื่มของมึนเมา เที่ยวกลางคืน ลักขโมย และทําร้ายร่างกาย 3. ระดับค่านิยมและลักษณะกลุ่มของเด็กและเยาวชน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เฉพาะค่านิยมด้านความรับผิดชอบและการเคารพผู้อาวุโส นอกจากนี้ค่านิยมแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกด้าน พฤติกรรมทางสังคมที่เบี่ยงเบนของเพื่อนสนิทมีความสัมพันธ์กับลักษณะกลุ่มเด็กและเยาวชนเกือบทุกพฤติกรรม และมีความสัมพันธ์ กับระดับค่านิยมบางพฤติกรรม 4. เด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและมารดามีระดับการศึกษาต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของค่านิยม ด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์และการเคารพผู้อาวุโส แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและมารดามีการศึกษาระดับสูงมีค่าเฉลี่ยของค่านิยมต่ำที่สุด เด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและนิดามารดามีอาชีพและรายได้ของครอบครัวต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของค่านิยมด้านความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยเด็กและเยาวชน ที่เป็นปัญหาทางสังคมและบิดามารดาประกอบอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีค่าเฉลี่ยค่านิยมด้านความรับผิดชอบต่ำที่สุด เด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคม และรายได้ของครอบครัวในระดับปานกลาง และสงมีค่าเฉลี่ยค่านิยมด้านความรับผิดชอบ ต่ำกว่ากลุ่มที่มีรายได้ต่ำ (ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท) นอกจากนี้ยังพบว่าเด็ก และเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลในระดับที่ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยค่านิยมด้านการเคารพผู้อาวุโสและการประหยัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า กลุ่มที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้เหตุผลในระดับต่ำหรือน้อย ปัจจัยด้านส่วนตัว ครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทาง สังคม สามารถทํานายค่านิยมด้านความรับยึดชอาย ความซื่อสัตย์ การเคารพผู้อาวุโส และการประหยัดได้ในระดับร้อยละ 6, 9, 10 และ 8 ตามลําดับ ซึ่งเป็นระดับที่ ค่อนข้างต่ำ ปัจจัยด้านรายได้ของครอบครัว ความสุขกายในครอบครัว พฤติกรรม ที่เสี่ยงเบนของเพื่อนสนิท และการอบรมเลี้ยงดูแน1 ใช้เหตุผล มีอิทธิพลสูงต่อค่านิยม ทุกด้าน แต่เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดิมค่านิยม (น้อย ปานกลาง และมาก ) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจาแนกระดับค่านิยมทุกด้าน คืออาชีพของบิดามารดา 5. ปัจจัยด้านส่วนตัวของเด็กและเยาวชน ครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดู สามารถส่งผล ในการจําแนกลักษณะกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยสามารถทํานายได้ถูกต้องร้อยละ 72 และเมื่อคัดเลือกปัจจัยที่ส่งผล 15 ปัจจัยพบว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ รายได้ของครอบครัว จํานวนสมาชิกในครอบครัว การศึกษาของบิดามารดา อาชีพมีดา เขตที่อยู่อาศัย ความสุขภายในครอบครัว สถานภาพ คงมีดามารดา พฤติกรรมของเพื่อนสนิท การอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักสนับสนุนและแบบใช้เหตุผล ค่านิยม ด้านความซื่อสัตย์และการเคารพผู้อาวุโสามารถจําแนกลักษณะกลุ่มเด็กและเยาวชนได้ถูกต้อง ร้อยละ 70 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางจิตวิทยาพบว่า ปัจจัยทางสังคมสามารถใช้จำแนกลักษณะกลุ่มเด็กและเยาวชนได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กและเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มลักษณะที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยค่า นิยมด้านความรับผิดชอบ และการเคารพผู้อาวุโสแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและศึกษาในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยค่านิยมต่ำสุด เด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคม และไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษา มีค่า เฉลี่ยค่านิยมสูงสุด และยังพบว่าเด็กและเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มลักษณะที่ต่างกันมีระดับ ความเบี่ยงเบนพฤติกรรมทางสังคมของเพื่อนสนิท และการอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความ : รักสนับสนุน และแบบใช้เหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยเด็กและ เยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษามีเพื่อนสนิทที่มีระดับพฤติกรรมเบี่ยงเบนสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและ ศึกษาในสถานศึกษา เด็กและเยาวชนปกติตามลําดับ ส่วนด้านการอบรมเลี้ยงดูพบว่าเด็กและเยาวชนปกติได้รับการอบรมเลี้ยงดูทั้ง 2 แบบ สูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคม และศึกษาในสถานศึกษา เด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาทางสังคมและไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษาตามลำดับ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อมูลจากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า ผลหรืออิทธิพลของการอบรม สิ่งที่ตนที่สถานกักกันทั้งสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้เห็นการอยู่นั้น มีความสําเร็จสามารถใช้ในการปลูกฝังเยาวชน ให้มีค่านิยมสูงในระดับที่น่าพึงพอใจจึงควรที่จะมีการปรับปรุงและดําเนินการต่อเพื่อช่วยพัฒนาเยาวชนของชาติ 2.สถานศึกษาควรจะส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชน มีโอกาสฝึกฝนทักษะ ต่าง ๆ มากขึ้นเช่น ทักษะด้านดนตรี ทักษะด้านศิลปะ ทักษะด้านกีฬา เป็นต้น เพื่อการพัฒนาศักยภาพ และสามารถนําทักษะต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน กิจกรรมสังคม และกิจกรรมส่วนตัว นอกจากนี้ยังทําให้เยาวชนมีโอกาสพบและคบบุคคลที่ดี หลีกไกลจากเยาวชนที่เป็นปัญหาซึ่งคาจชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ 3. จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยด้านส่วนตัว ครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดู มีอิทธิพลต่อระดับค่านิยมค่อนข้างน้อย จึงควรที่จะมีการศึกษาอิทธิพลทางด้านสังคมภายนอกอันได้แก่ อิทธิพลของเพื่อนและสื่อมวลชนต่าง ๆ ว่าจะมีผลต่อค่านิยมของเยาวชนมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพราะปัจจุบันเยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและมีการแสดงออกผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้จากข้อค้นที่ว่ามีเยาวชนจํานวนไม่น้อย ที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา และคัดเลือกค่านิยมสำหรับยึดเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตของตนต่อไป สถานศึกษาจึงควรหารูปแบบในการปลูกฝังค่นิยมที่ดีและเหมาะสม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก