การใช้เมล็ดทุเรียน ดอกสารภี และเลือดแรด ในการฆ่าลูกน้ำยุงลาย (Aedes aegypti) และผลกระทบต่อวงจรชีวิตของยุงลาย

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

จตุพร เหมรัตน์ , สกาวรัตน์ อนรรฆธนะกุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.614.432 จ14ก

รายละเอียด: 

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก พาหะหลักของโรค คือ ยุงลาย (Aedes aegypti) ซึ่งกําลังระบาดถึงขั้นทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นไม่น้อย การกําจัดโดย การใช้สารเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการดื้อยาในยุง ดังนั้น การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรจึงเป็น วิธีที่ดีในการทดแทนการใช้สารเคมี จึงได้ทําการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชสมุนไพร 3 ชนิด คือ สารสกัด จากเมล็ดทุเรียนเทศ ดอกสารภี และเลือดแรค พบว่าสารสกัดจากดอกสารภีมีคุณสมบัติสูงในการฆ่าลูกน้ํา ระยะที่ 3-4 มีค่า LC และ LC, ที่ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 5.68 mg/L, 35.61 mg/L ตามลําดับ และที่ 48 ชั่วโมง เท่า กับ 5.48 mg/L, 16.97 mg/L ตามลําดับ คุณสมบัติรองลงมาคือ เมล็ดทุเรียนเทศ มีค่า LCs และ LCที่ 24 ชั่ว โมง เท่ากับ 11.30 mg/L, 52.27 mg/L ตามลําดับ และที่ 48 ชั่วโมง เท่ากับ 6.21 mg/L, 39.54 mg/L ตาม ลําดับ คุณสมบัติต่ําสุดคือ เลือดแรด มีค่า LC และ LC, ที่24 ชั่วโมง เท่ากับ 71.48 mg/L, 86.78 mg/L ตาม ลําดับ และที่ 48 ชั่วโมง เท่ากับ 26.26 mg/L, 70.74 mg/L ตามลําดับ ผลกระทบต่อวงจรชีวิตของลูกน้ํายุงลาย พบว่า ฤทธิ์ของสารสกัดจากเมล็ดทุเรียนเทศ ทําให้ประชากรของยุง ลายเพิ่มขึ้นมากกว่าสารสกัดจากดอกสารภี เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจํานวนไข่ต่อตัวเมีย 1 ตัว ระหว่างสารสกัด จากเมล็ดทุเรียนเทศและดอกสารภี ปรากฏว่าจํานวนไข่ของสารสกัดจากดอกสารภีมีจํานวนมากกว่าเมล็ด ทุเรียนเทศ จํานวนไข่ของสารสกัดจากเมล็ดทุเรียนเทศและดอกสารภีเมื่อเทียบกับชุดควบคุม จะมีจํานวนไข่น้อยกว่า อัตราการฟักของจํานวนลูกน้ำต่อตัวเมีย 1 ตัว ของสารสกัดจากเมล็ดทุเรียนเทศและดอกสารภี เท่ากับ 25 เปอร์เซ็นต์ 27 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมจํานวนลูกน้ำที่ฟักออกมา น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษา

บทที่5 สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก