การพัฒนารูปแบบลวดลายกระบวนการผลิตผ้าบาติกในจังหวัดสงขลา กรณี : แหล่งผลิตชุมชนวังเขียว - วังขาว ตำบลบ่อยาง อำเภิเมือง จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ศุภฤกษ์ ทองประยูร

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.746.6 ศ46ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะพัฒนารูปแบบลวดลายกระบวนการผลิตผ้าบาติกในจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะแหล่งผลิตชุมชนวังเขียว-วังขาว ตําบลบ่อยาง อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา ให้มีรูปแบบลวดลายที่หลากหลาย มีวิธีการและกระบวนการด้านการออกแบบรูปแบบลวดลาย สามารถนําทฤษฎีการจัดองค์ประกอบศิลป์มาใช้ในการจัดวางลวดลายได้อย่างเหมาะสม ผลผลิตได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าบาติก (มผช.) ที่มีคุณภาพและมูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น เป็นการวิจัยประยุกต์เน้นกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยและกลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกของชุมชน โดยมีผลการวิจัยหลังการพัฒนาดังนี้ ผลการศึกษาและคัดสรรรูปแบบลวดลายผ้าบาติกของชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม พบว่า รูปแบบลวดลายที่กลุ่มผู้ผลิตต้องการพัฒนาเป็นต้นแบบและเอกลักษณ์ของกลุ่ม คือรูปแบบลวดลาย จากความเชื่อที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลาคือรูปแบบลวดลายนางเงือก และรูปแบบลวดลาย จากธรรมชาติคือรูปแบบลวดลายดอกชบา โดยกลุ่มผู้ผลิตมีแนวคิดที่จะนําเอาเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์อื่นที่คนทั่วไปรู้จักในนามของจังหวัดสงขลาหรือความเป็นภาคใต้ มาผสมผสานกับรูปแบบเดิม พัฒนาเป็นรูปแบบลวดลายใหม่ ได้ลีลาท่าทางของนางเงือกที่แตกต่างกัน ส่วนรูปแบบลวดลายดอกชบามีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนรูปแบบลักษณะของดอกใหม่ให้ใกล้เคียงและมีความรู้สึกเหมือนจริงตามธรรมชาติมากกว่าเดิม โดยการศึกษาถึงลักษณะของดอกแบบต่าง ๆ ทั้งดอกตูมและดอกบานที่เป็นจริงตามธรรมชาติ แล้วนํามาประกอบจัดเรียงใหม่เป็นช่อดอกที่มีดอกตูมและดอกบาน อยู่บนก้านและใบตามลําดับ ได้สีลาและความรู้สึกที่แตกต่างกัน เป็นต้นแบบในการผลิตของกลุ่ม ต่อไป ผลการพัฒนาและสํารวจความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบลวดลายผ้าบาติกของชุมชน พบว่า สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตมีความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มเติมในเรื่องของวิธีการ กระบวนการตลอดจนเทคนิคการออกแบบรูปแบบลวดลายหลังจากฟังการบรรยายและฝึกปฏิบัติการจริง เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นของกลุ่มสามารถสร้างต้นแบบรูปแบบลวดลายที่เป็นของกลุ่มได้ ส่วนการสํารวจความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบลวดลายผ้าบาติกของชุมชนที่เป็นต้นแบบใหม่ พบว่าโดยภาพรวมรูปแบบลวดลายต้นแบบทั้ง 10 รูปแบบมีระดับความเหมาะสม และน่าสนใจอยู่ในระดับมากโดยเรียงชื่อผลงานตามลําดับได้ดังนี้ รูปแบบลวดลายสัญลักษณ์จังหวัด สงขลา 2 , รูปแบบลวดลายสัญลักษณ์จังหวัดสงขลา 3 , รูปแบบลวดลายดอกชบา 1, รูปแบบลวดลายดอกชบา 2 , รูปแบบลวดลายมโนราห์ , รูปแบบลวดลายพญานาค , รูปแบบลวดลายสัญลักษณ์จังหวัดสงขลา 1 , รูปแบบลวดลายการ์ตูน , รูปแบบลวดลายเด็กไทย และรูปแบบลวดลายปลาทะเล ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทํางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนางานผ้าบาติกในเรื่องของการออกแบบรูปแบบลวดลาย กระบวนการผลิต ที่หลากหลายตามแหล่งผลิตของภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อการพัฒนากระบวนการตลอดจน เทคนิคต่าง ๆ แก่ชุมชน ส่งเสริมและกําหนดให้มีแหล่งเรียนรู้เรื่องผ้าบาติกจากหน่วยงานของรัฐ และเอกชน โดยการรวบรวมผลงานที่ชัดเจนและถูกต้องเด่นชัดไว้ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัด สถาบันการศึกษาหรือสถานที่ราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อการศึกษาค้นคว้า และมีส่วนร่วมในการ ประชาสัมพันธ์ผลงาน สนับสนุนงานด้านการตลาด จัดหาแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการ กลุ่มการผลิตเพื่อสร้างเครือข่ายนําไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงและยั่งยืนต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย