ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
จิรภา คงเขียว, จิราภรณ์ กวดขัน, สายใจ เพชรคงทอง |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2551 |
|
เลขหมู่: |
ว.378.3 จ37ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยเรื่องการสํารวจสถานภาพและความคิดเห็นของนักศึกษาใหม่ต่อการเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ประจําปีการศึกษา 2551 มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลของนักศึกษาใหม่ ภาคปกติ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลทางครอบครัวและเศรษฐกิจ ข้อมูลผู้ปกครอง ข้อมูลการทํางาน ข้อมูลการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ข้อมูลความคิดเห็นที่นักศึกษามีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏในด้านต่าง ๆ ข้อมูลความคาดหวังในการศึกษาหลังจบการศึกษา และข้อมูลความต้องการให้มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงในทิศทางที่ดีขึ้น การสํารวจทําโดยการใช้แบบสอบถามกับนักศึกษาใหม่ ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 3 (2 ปี หลังอนุปริญญา) จํานวน 2,134 คน เป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 244 คน คณะเทคโนโลยีการเกษตร 125 คน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 301 คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 207 คน คณะวิทยาการจัดการ 724 คน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 379 คน และคณะศิลปกรรมศาสตร์ 154 คน ผลการสํารวจพบว่า นักศึกษา จํานวน 2,134 คน เป็นเพศหญิง จํานวน 1,290 คน เพศชาย 844 คน โดยส่วนใหญ่มีอายุ 19 ปี ร้อยละ 54.7 นับถือพุทธ ร้อยละ 44.7 นับถือศาสนาอิสลาม นักศึกษามีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านในจังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 37.0 11.6 และ 10.7 ตามลําดับ และสําเร็จการศึกษาจากโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน และโรงเรียน ปอเนาะ คิดเป็นร้อยละ 63.9 25.8 และ 8.4 ตามลําดับ นักศึกษาเข้ามาศึกษาต่อ โดยวิธีสอบคัดเลือก ร้อยละ 48.5 และประเภทโควต้าร้อยละ 43.5 ผู้ปกครองของนักศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ประถมหรือต่ํากว่า และประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง รองลงมามีอาชีพรับจ้าง โดยส่วนใหญ่ มีรายได้ต่ำกว่า 5,760 บาทต่อเดือน นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่เคยกู้ยืมเงินจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งนักศึกษาได้รับเงินค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 2,001 - 3,000 บาท หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือน 3,242.97 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักต่อเดือนประมาณ 501 - 1,000 บาท หรือคิดเป็นค่าที่พักเฉลี่ย/เดือน 1995.17 บาท ระหว่างศึกษานักศึกษาทํางานพิเศษและเคยทํางานพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 19.2 โดยมีรายได้เฉลี่ยจากการทํางานพิเศษ 3,450.05 บาทต่อเดือน กิจกรรมที่นักศึกษาเคยทํามากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์และและรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ และกิจกรรมวิชาการ เหตุผลที่นักศึกษาเลือกโปรแกรมวิชาที่เรียน เนื่องจากตรงตามความสนใจและความถนัด ร้อยละ 79.0 รองลงมาคิดว่าหางานง่ายเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ร้อยละ 49.3 และคิดว่าเรียนง่ายมีโอกาสสําเร็จการศึกษาสูงร้อยละ 31.0 ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ด้านส่วนตัวและ ครอบครัว ตามลําดับดังนี้ นักศึกษาเลือกเพราะคิดว่าเมื่อสําเร็จการศึกษาจะมีโอกาสทํางานสูง เลือกเพราะได้เรียนในโปรแกรมวิชาที่ตรงกับความสนใจและความถนัด และเลือกเพราะสะดวกในการเดินทางมาศึกษา ปัจจัยด้านมหาวิทยาลัย นักศึกษาเลือกเข้าศึกษา เพราะสถานที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน มีการเปิดสอนหลากหลายโปรแกรมวิชา และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ประสบการณ์เมื่อสําเร็จการศึกษานักศึกษาต้องการประกอบอาชีพ รับราชการ ประกอบอาชีพส่วนตัว และทํางานเอกชน ร้อยละ 45.132.1 และ 10.8 ตามลําดับ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|