ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
ดลรอฉาด หมัดเหน๊าะ, ทวีศีกดิ์ ทองฉัตร |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2552 |
|
เลขหมู่: |
ว.628.16 ด17ก |
|
รายละเอียด: |
ตัวอย่างน้ําจากคลองนาทับ ตําบลนาทับ อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จาก 9 จุดเก็บตัวอย่าง ตั้งแต่ปากคลองนาทับและลึกเข้าไปตามลําคลอง 10.5 กิโลเมตร ศึกษาในเดือนพฤษภาคม 2552 (ฤดูแล้ง) และเดือนตุลาคม 2552 (ฤดูฝน) พารามิเตอร์ที่ศึกษาประกอบด้วย ความลึก อุณหภูมิ ความนําไฟฟ้า ความขุ่นของน้ํา ของแข็งทั้งหมด ของแข็งละลายทั้งหมด ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด ความเป็นกรดและด่าง ความเค็ม ปริมาณออกซิเจนละลายน้ํา บีโอดี ผลจากการศึกษา พบว่ามีความลึกอยู่ในช่วง 1.30-4.59 เมตร อุณหภูมิ 30.30-32.8) องศาเซลเซียส ความนําไฟฟ้า 3.50-33.70 ไมโครซีเมนต่อเซนติเมตร ความขุ่นของน้ํา 3.121-1.27 เอ็นทียู ของแข็งทั้งหมด 17,800-57,280 มิลลิกรัมต่อลิตร ของแข็งละลายทั้งหมด 17,145-56,060 มิลลิกรัมต่อลิตร ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด 310-1,220 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรดและด่าง 7.41-8.2 ความเค็ม 0.18-3.2 พีพีที ปริมาณออกซิเจนละลายน้ํา 2.9-7.1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีโอดี 0.2-2.6 มิลลิกรัมต่อลิตร และภาระบีโอดี 10.81 กิโลกรัม/วัน/คน คุณภาพน้ําโดยทั่วไปไม่เกิน มาตรฐานคุณภาพน้ําผิวดินประเภทที่ 3 ยกเว้นจุดเก็บตัวอย่างที่ 5,6,7,8 และ9 ซึ่งเป็นบริเวณต้นน้ําที่ มีกิจกรรมจากชุมชนซึ่งปล่อยสารอินทรีย์ลงสู่แหล่งน้ําทําให้มีค่าออกซิเจนละลายน้ําต่ํากว่าเกณฑ์ มาตรฐาน แหล่งน้ําอยู่ในลักษณะกําลังที่จะเสื่อมโทรมลง นอกจากนี้ในช่วงฤดูแล้งบริเวณดังกล่าว จะมีค่าบีโอดีสูงกว่าในช่วงฤดูฝนและเกินมาตรฐานคุณภาพน้ํา การวิเคราะห์ค่าความสกปรกของน้ําจากคลองนาทับ ค่าดีโอและค่าบีโอดีโดยทั่วไปยังอยู่ ในเกณฑ์มาตรฐานยกเว้นบางจุดเก็บตัวอย่างบริเวณต้นน้ํา เนื่องจากในปัจจุบันมีการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในพื้นที่บริเวณต้นน้ํา ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเฝ้า ระวังคุณภาพน้ําคลองนาทับอย่างต่อเนื่อง |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่4 ผลและการอภิปรายผลการวิจัย |
|