ผลของการใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากขอเด็กอายุ 18 - 36 เดือน : กรณีศึกษาตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

สำราญ สกุลเด็น

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.617.6 ส217ผ 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ปกครองกลุ่มทดลองระหว่าง ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ปกครองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม หลังการใช้กิจกรรมการ พัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน 3) เปรียบเทียบระดับความสะอาด ของฟันเด็กอายุ 18 - 36 เดือน ในความดูแลของกลุ่มทดลองก่อน และหลังการใช้กิจกรรมการพัฒนา ทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เตือน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองจริง (True – experimental research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวที่ ทําหน้าที่ดูแลเด็กอายุ 18 - 36 เดือน เด็กที่เกิดตั้งแต่ 31 มกราคม 2551 ถึง 31 กรกฎาคม 2552 และอาศัยอยู่จริงในตําบลพะตง อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อย่างน้อย 6 เดือน คือ อาศัยอยู่ตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2553 โดยต้องดูแลแบบเป็นประจําไม่น้อยกว่า 5 วัน ต่อสัปดาห์ และไม่มีความผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับการได้ยิน การพูด และการมองเห็น ตลอดจนสมัครใจ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการวิจัย จํานวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุตการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย การบรรยายประกอบกับการใช้ตัวแบบ การสาธิตและฝึกปฏิบัติพฤติกรรมของผู้ปกครอง ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน ชุตตรวจความสะอาดของฟัน และแบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สําเร็จรูป สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานการทดสอบ Paired Sample t - test และการทดสอบที่อิสระ (Independent t - test) ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมของผู้ปกครองกลุ่มทดลองหลังการใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน แล้ว 1 เดือน ต้านการทําความสะอาดช่องปาก ต้านการตรวจฟัน ต้านการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก (การเลิกนมขวต) และ พฤติกรรมโดยรวม แตกต่างกับก่อนใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ18 - 36 เดือน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ร (2) 25 ส่วนพฤติกรรมด้านการจัดอาหารพบว่าไม่ แตกต่างกัน 2) พฤติกรรมของผู้ปกครองกลุ่มทยอยงแนกลุ่มควบคุม หลังใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน แล้ว 1 เดือน ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุม 3) หลังใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน ระดับความ สะอาดของฟันเด็กอายุ 18 - 36 เดือน แตกต่างกับก่อนใช้การพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยหลังการใช้กิจกรรมการพัฒนา ทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน ระดับความสะอาดของฟันเด็กสะอาด น้อยกว่าก่อนใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 18 - 36 เดือน ที่ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเฉลิมพระเกียรติตําบล ตําบล พะตง อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านทุ่งปรือ ตําบลพะตง อําเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมการฝึกปฏิบัติต้านการจัดอาหาร ให้แก่ผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการเพิ่มความสามารถในการ ปฏิบัติให้แก่ผู้ปกครอง โดยกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนํามาปรับใช้ ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในการนํามาใช้ในชีวิตประจําวัน แต่ทั้งนี้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้อง เตรียมการอย่างจริงจัง ซึ่งใช้เวลา งบประมาณ ตลอดจนการควบคุมจํานวนผู้เข้าร่วมการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ครบตามที่กําหนด ดังนั้น หน่วยงานอื่น ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สามารถปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่หรือกลุ่มประชากรเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษา

บทที่5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก