ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ธิชฟานฑ์ โส๊ะ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2555 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.372.35 ธ32ก 2555 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยมีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นสร้างรูปแบบการสอน ขั้นนำรูปแบบการสอนไปใช้ และขั้นประเมินรูปแบบการสอน ขั้นสร้างรูปแบบการสอน ประกอบด้วย การสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องเพื่อสร้างรูปแบบการสอน จากนั้นนำรูปแบบการสอนไปผ่านการตรวจความเหมาะสมด้วยการประยุกต์เทคนิคเดลฟาย มีผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นจำนวน 9 คน รูปแบบการสอนมีขั้นตอน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นเสนอสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ขั้นแสดงเป้าหมายที่ชัดเจน ขั้นแสวงหาข้อเท็จจริง ขั้นสะท้อนความคิดอย่างมีหลักการและขั้นสรุปและประเมินผล ขั้นนำรูปแบบการสอนไปใช้ โดยดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ร่างกาย อาหารและโภชนาการของมนุษย์ที่มีขั้นตอนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นประเมินรูปแบบการสอน ใช้การประเมินตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ t – test Dependent ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1)รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 เสนอสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ขั้นที่ 2 แสดงเป้าหมายที่ชัดเจน ขั้นที่ 3 แสวงหาข้อเท็จจริง ขั้นที่ 4 สะท้อนความคิดอย่างมีหลักการ และขั้นที่ 5 สรุปและประเมินผล มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.75/83.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) หลังจากใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาแล้วนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบการเรียนการสอนและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|