การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด เขตภาคใต้

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

รัชนี อ่อนแก้ว

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.371.9 ร112ก 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล 10 ด้าน คือ หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ หลักการตอบสนอง หลักภาระรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลัก การมีส่วนร่วม หลักการกระจายอำนาจ หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค และหลักมุ่งเน้นฉันทามติ ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด เขตภาคใต้ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด เขตภาคใต้ แยกตามตำแหน่ง เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การฝึกอบรมด้านการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด เขตภาคใต้ จำนวน 179 คน โดยได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเป็นแบบสำรวจรายการ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และตอนที่ 3 ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ เป็นคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ส่วนข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด เขตภาคใต้ อยู่ในระดับมาก โดยหลักธรรมาภิบาลที่ผู้บริหารใช้มากที่สุดคือ หลักการมีส่วนร่วม รองลงมาคือ หลักมุ่งเน้นฉันทามติ และหลักภาระรับผิดชอบ ส่วนหลักธรรมาภิบาลที่ผู้บริหารใช้น้อยที่สุดคือ หลักประสิทธิภาพ หลักการกระจายอำนาจ และหลักความเสมอภาค 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ แยกตามตำแหน่ง เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การฝึกอบรมด้านการศึกษาพิเศษไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาและอุปสรรค เกิดจากการบริหารงานบางครั้งไม่ได้ยึดหลักธรรมาภิบาล เช่น บริหารงานไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ขาดความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความยืดหยุ่น การมีส่วนร่วม มีการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ แนวทางแก้ไข คือ ผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ควรยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารทุกเรื่อง ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารของสถานศึกษา ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นระบบ ตรวจสอบได้ และเผยแพร่ต่อสาธารณชน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย