ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ณธาอร ทองปรีชา |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.371.9 ณ14ค |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-9 ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยวิธีสอนแบบ CSA 2) เปรียบเทียบความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-9 ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียน โดยวิธีสอนแบบ CSA 3) ศึกษาความสามารถการบวกจำนวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยวิธีสอนแบบ CSA 4) เปรียบเทียบความสามารถการบวกจำนวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียน โดยวิธีสอนแบบ CSA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จำนวน 6 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ในการรู้ค่าจำนวน 1-9 โดยวิธีสอนแบบ CSA จำนวน 10 แผน แผนการจัดการเรียนรู้การบวกจำนวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 9 โดยวิธีสอนแบบ CSA จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-9 และแบบทดสอบวัดความสามารถการบวกจำนวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ สถิตินอนพาราเมตริกของวิลคอลสัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Rank Test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-9 หลังเรียน โดยวิธีสอนแบบ CSA มีความสามารถอยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-9 หลังเรียน โดยวิธีสอนแบบ CSA สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความสามารถการบวกจำนวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 9 หลังเรียน โดยวิธีสอนแบบ CSA มีความสามารถอยู่ในระดับดี 4) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความสามารถบวกจำนวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 9 หลังเรียน โดยวิธีสอนแบบ CSA สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|