ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
วีระ เตโช |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2549 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.371.393 ว37ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องสภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาประชากรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักกับวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 80 คน ได้มาจากกลุ่มห้องเรียนอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน กลุ่มควบคุม 40 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก กลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ระยะเวลาที่ใช้ทดลองกลุ่มละ 16 คาบ คาบละ 50 นาที โดยทั้ง 2 กลุ่มใช้เนื้อหาเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องสภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) และสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มที่ใช้วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักและกลุ่มที่ใช้วิธีสอนแบบสัมพันธ์มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องสภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. กลุ่มที่ใช้วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องสภาพและปัญหาสิ่แวดล้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. กลุ่มที่ใช้วิธีสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องสภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|