ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ทัศนา เมฆเวียน |
|
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2546 |
|
เลขหมู่: |
ว.378.199 ท118ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2543 สาขาวิชา การศึกษา โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ บริหารกับผู้สอนค้านการเตรียมความพร้อมก่อนการใช้หลักสูตรและด้านการบริหารหลักสูตร เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สอนกับผู้เรียนด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตร ในส่วนของโครงสร้างของหลักสูตร และด้านการจัดการ เรียนการสอน ศึกษาความคิดเห็นของผู้สอนและผู้เรียนด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตรในส่วนของเนื้อหาสาระแต่ ละรายวิชา และศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตค้านคุณลักษณะบัณฑิต เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ในสถาบันราชภัฏจํานวน 13 แห่ง ที่กําลังดําเนินการจัดการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2545 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติบรรยาย และตรวจสอบความแตกต่าง ผลการวิจัยพบว่า ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนการใช้หลักสูตรและด้านการบริหารหลักสูตร ผู้บริหารเห็นว่าเพียงพอแล้ว คือ สถานที่เรียนภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฎี ความเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะวิชา ผู้บริหารให้การสนับสนุนการปฏิบัติการสอนของผู้สอนในการผลิตวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อการสอน การจัดสวัสดิการ ให้บริการทางวิชาการแก่ผู้สอน ตามคุณวุฒิ ความสามารถ และความถนัด การกํากับดูแลนิเทศภายใน การจัดคาบเรียนให้เหมาะสม และให้โอกาสผู้เรียนได้มีเสรีภาพในการเลือกรายวิชา ขณะที่ผู้สอนเห็นว่ายังไม่เพียงพอเท่าที่ควร ด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตรในส่วนของโครงสร้างหลักสูตร ผู้สอนเห็นว่าเพียงพอแล้ว เรื่องการกําหนดให้ เรียนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปในกลุ่มวิชาที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ขณะที่ผู้เรียนเห็นว่ายังมีความเหมาะสมไม่เพียงพอ ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนกับผู้เรียนมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ การทําแผนการสอน จัดกิจกรรมการ เรียนการสอนได้ตามแผนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และใช้สื่อภาคทฤษฎีได้อย่างเหมาะสมค้านคุณ ลักษณะบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีคุณลักษณะเหมาะสมมากที่สุด คือ มีเจตคติที่ดีต่อการเป็นครูมีความ รักและศรัทธาในวิชาชีพครู มีความซื่อสัตย์ รักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันดีของชาติ และมีความสํานึกในความเป็นไทย ด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตรในส่วนของเนื้อหาสาระแต่ละรายวิชา ผู้สอนและผู้เรียนมีความ เห็นว่าความเหมาะสมยังไม่เพียงพอในประเด็น จํานวนหน่วยกิตและเวลาที่กําหนดในหลักสูตร สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนและสังคม เนื้อหาวิชามีความทันสมัยและมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ ได้แก่ วิชาหลักการจัดอาหารและโภชนบําบัด วิชาการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย วิชาเสื้อผ้าครอบครัว วิชาเสื้อผ้าเด็ก วิชาการตัดเย็บชุดนอน วิชาการออกแบบตกแต่งภายใน วิชาการจัดการที่อยู่อาศัย วิชากิจกรรมเสริม ประสบการณ์สําหรับเด็ก วิชาการจัดการร้านค้าศิลปประดิษฐ์ วิชาการประดิษฐ์เศษวัสดุ และวิชาการจัดดอกไม้ในงานประเพณีไทย |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|